กล้วยไม้ไทยแห่งไพรพฤกษ์

 

กล้วยไม้ไทยแห่งไพรพฤกษ์

ในบรรดาพืชมีดอกวงศ์ต่างๆในโลกนี้ ราวๆ 25,000 ชนิด กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ประมาณกันว่าจำนวนชนิดของกล้วยไม้ที่มนุษย์ รู้จักกันแล้วอาจมีมากถึง 30,000 ชนิด กล้วยไม้เป็นหนึ่ง ในบรรดาพืชพรรณ ที่มนุษย์รู้จักและให้ความสนใจมากที่สุด ด้วยความสวยงามโด่ดเด่น และความหลากหลาย ของรูปร่างลักษณะอันน่ามหัศจรรย์เกินกว่า พืชชนิดใดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ความหลายหลายทางชีวลักษณ์รวมทั้งความสามารถในการขยายพันธุ์สูงสุดในอาณาจักร พืช และด้วยความจริงที่ว่ากล้วยไม้ไม่สามารถปรับตัวจนสามารถเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ในการดำรงชีพขณะที่พืชอื่นๆอีก หลายชนิดไม่สามารถทำได้และสูญพันธุ์ ไปก่อนหน้านี้แล้ว
อาจเป็นเรื่องจินตนาการได้ยาก เมื่อเราได้ฟังข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเซียอาคเนย์นี้ บนต้นไม้ต้นเดียวกันเราอาจพบกล้วยไม้สกุลBulbophyllum ที่มีขนาดต้นใหญ่กว่า หัวเข็มหมุดเพียงเล็กน้อย และหนักไม่ถึง 1กรัม ในขณะที่เลยสูงขึ้นไปบนคาคบไม้เดียวกัน อาจมีกล้วยไม้ในสกุล Grammatophyllum ที่มีลำต้นสูงกว่า 5 เมตร และหนักทั้งกอ รวมกันมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นอยู่ และยิ่งฟังดู ก็ยิ่งเหลือเชื่อที่มีกล้วยไม้ในสกุล Epipactisขึ้นอยู่ในน้ำในขณะที่กล้วยไม้อีกหลายชนิดขึ้นอยู่บนลานหินอันร้อน ระอุ ตามยอดเขา
กล้วย ไม้สกุล Vanilla และGaleola บางชนิดมีลำต้น เป็นเถาเลื้อยไต่ไปตามต้นไม้ใหญ่ในป่าได้ไกล หลายสิบเมตร ในขณะที่ กล้วยไมสกุล Chilochista และ Taeniophyllum กลับไม่ปรากฏใบหรือต้น ให้เห็นชัดเจนแต่จะมีเพียงกระจุกรากติดตามเปลือกไม้ส่ง ดอกย้อยลงมาดูแปลกตายิ่งนัก ประเทศไทย เป็นดินแดนที่ครอบครองความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยที่ตั้ง และลักษณะทางสภาพทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศที่ เอื้ออำนวยให้มีป่าไม้อัน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ต่าง ๆ โดยครอบคลุมชนิดพันธุ์ทั้งสัตว์ และพืชที่แพร่กระจายมาจากเขตภูมิภาคต่าง ๆ โดยรอบ กอรปกับที่ตั้งของประเทศไทย เป็นเสมือนจุดบรรจบ ของพรรณพืชจากทุกเขต

กล้วยไม้นับเป็นหลักฐาน สนับสนุนคำดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี เพราะกล้วยไม้แต่ละชนิดมักมี อาณาเขตการกระจายพันธุ์ ไม่กว้างขวางเมื่อเทียบกับพืชพรรณ กลุ่มอื่นๆ ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกล้วยไม้ หลายชนิดที่พบมากแถบ เทือกเขาหิมาลัย ประเทศจีน รวมถึงเทือกเขาอันนัม ของประเทศเวียตนาม ส่วนทางภาคใต้ และภาคตะวันออก ก็พบ กล้วยไม้ที่มีอยู่ ในภูมิภาคอินโดมลายัน เป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่าในขณะเดียวกันในประเทศไทยก็มีกล้วยไม้หลายชนิดเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (Endemic Species) ซึ่งไม่พบในที่อื่นใดอีก จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจพบพืชวงศ์กล้วยไม้ ในประเทศไทยแล้วประมาณ 1,170 ชนิดในจำนวนนี้กว่าครึ่ง จัดเป็นพรรณไม้หายาก และอีกหลายร้อยชนิดแทบจะไม่มีการพบเห็นอีกเลย
เนื่องจากพืชวงศ์กล้วยไม้ มีความหลากหลายทางสรีระอย่างมาก และมีลักษณะวิสัยในการขึ้นอยู่ตามแหล่งธรรมต่าง ๆ กันไป จนทำให้ยากต่อการจำแนกหรืออาจสับสนกับพืชในวงศ์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน และปัญหา พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายไปอย่างมาก ทำให้ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของกล้วยไม้ลดลงไปทุกขณะ ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เปลื่ยนแปลงไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดำรงชีวิตของกล้วยไม้ จนทำให้ในอนาคตกล้วยไม้หลายชนิดอาจจะสูญพันธุ์ ไปจากประเทศไทยและจากโลกก็เป็นได้

ที่มา  http://www.orchidtropical.com/articleid43.php

ประวัติกล้วยไม้ไทย / วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย

ประวัติกล้วยไม้ไทย / วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย

วิวัฒนาการกล้วยไม้ไทย เรื่องโดย เรื่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลิต พงศ์ศุภสมิทธิ์

กล้วยไม้ เป็นพืชที่อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมากพอควร ทั้งนี้ เนื่องจากกล้วยไม้เป็นยาบำรุงจิตใจ ที่สามารถทำให้มนุษย์ซึ่งมีแต่ความเคร่งเครียดจากการงาน การดำรงชีวิต ได้รับการผ่อนคลาย จากการชื่นชมความงามของดอกกล้วยไม้ต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่ากล้วยไม้บางชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรได้อีกด้วยความงามของต้นใบ และดอกของกล้วยไม้นับว่ามีเสน่ห์เหนือกว่าดอกไม้อื่นใด สามารถดึงดูดความสนใจให้ใคร่อยากเป็นเจ้าของแก่ผู้ที่พบเห็น แม้จะเพียงชื่อก็ยังก่อให้เกิดจินตนาการ และให้ความรู้สึกถึงพีชดอกที่มีความสวยงามพิเศษแตกต่างกว่าพืชดอกชนิดอื่นๆ กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงเป็นอย่างดีแล้ว เมื่อดอกที่สวยงาม นอกจากจะทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีความภูมิใจแล้ว ยังเป็นที่นิยมชมชอบแก่ผู้พบเห็นเรียกว่า ทำให้เจ้าของพลอยมีหน้ามีตาไปกับกล้วยไม้ด้วย โดยทั่วไปกล้วยไม้ที่มีความงามเป็นพิเศษมักมีจำนวนน้อย ไม่พอต่อความต้องการจากเหตุผลดังนี้ จึงก่อให้เกิดวิทยาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ด้านต่างๆ ขึ้นไม่ว่าด้านการแบ่งจำแนกชนิดพันธุ์ หรือสกุลการปลูกเลี้ยง ตลอดจนการขยายพันธุ์และวิชาการด้านอื่นๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ เพื่อการพัฒนาไปสู่ธุรกิจและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ

ประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และบุคคลสำคัญในวงการกล้วยไม้ไทย
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ หมายถึง การนำกล้วยไม้มาปลูกในโรงเรือนที่สร้างขึ้น และปรับสภาพแวดล้อมอันได้แก่ แสงสว่าง ความชื้น อุณหภูมิตลอดจนการให้ปุ๋ย และยาป้องกันกำจัดโรคแมลงที่เหมาะกับกล้วยไม้แต่ละชนิด จากความหมายนี้มนุษย์ได้รู้จักการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มานานมากกว่า ๒๐๐ ปี เริ่มแรกโดยนักสำรวจพันธุ์ไม้จากทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษได้ออกสำรวจพันธุ์ไม้ในแถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ได้นำกล้วยไม้สกุลแคทลียา (Cattleya spp.) และสกุลอื่นๆ ในดินแดนแถบนี้มาปลูกเลี้ยงที่ยุโรปทำให้มีเรือนกล้วยไม้ และธุรกิจกล้วยไม้ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นยังได้นำกล้วยไม้จากเอเซียตอนใต้ไปปลูกเลี้ยง และพัฒนาพันธุ์ในยุโรปอีกด้วย จากการที่ประเทศอังกฤษ ได้อพยพคนจากอังกฤษไปยังอเมริกา คนเหล่านั้นก็ได้นำเอากล้วยไม ้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทำให้มีเรือนกล้วยไม้หลายแห่งเกิดขึ้นในอเมริกา และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมาในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวฮอลันดาได้ปกครองอินโดนีเซีย และได้รวบรวม และศึกษาพันธุ์กล้วยไม้ของเอเซีย และได้มีการทดลองผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ ที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองโบกอร์ (Bogor) ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากของเอเซียในสมัยนั้น กล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงจากการผสมของสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ ส่วนมากจะเป็นสกุลหวาย และแวนด้า หลังสงครามโลกครั้งที่สองฮอลันดาได้มอบเอกราชให้อินโดนีเซีย หลังจากนั้นได้เกิดปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจจึงทำให้กิจการ และโครงการกล้วยไม้ ในสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ทรุดโทรมลงไปด้วย ปัจจุบันกล้วยไม้ลูกผสมที่เหลือจากสวนแห่งนี้ได้ถูก ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ กัน ต่อมาในแถบประเทศคาบสมุทรมลายูทำให้ได้กล้วยไม้ลูกผสมใหม่ๆ ที่บังเกิดประโยชน์ทางธุรกิจของมาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นอย่างมาก

มลรัฐฮาวาย – เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาวายเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา หมู่เกาะแห่งนี้นอกจากมีชนพื้นเมืองที่เป็นชาวเกาะแล้ว ยังมีชาวญี่ปุ่น และชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของหมู่เกาะฮาวายเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีน จึงสนใจที่จะปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้จบลง กิจการกล้วยไม้ที่ถูกผลกระทบจากสงคราม ได้เริ่มฟื้นตัว และในภายหลังกิจการกล้วยไม้ในหมู่เกาะแห่งนี้ ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกล้วยไม้พื้นถิ่นในสภาพธรรมชาติของฮาวายมีน้อยมาก ฮาวายจึงได้สั่งพันธุ์กล้วยไม้ป่า จากประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา ตลอดจนหมู่เกาะนิวกินี และออสเตรเลียเพื่อใช้ในการผสม และปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๘ คือ ประมาณสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฮาวายได้ประสบความสำเร็จในธุรกิจกล้วยไม้ ได้มีการประชาสัมพันธ์ ทางสื่อต่างๆ ตลอดจนบัตรอวยพรส่งความสุข ทำให้วงการกล้วยไม้ของฮาวายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่สอง ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ณ.นครโฮโนลูลู ในระยะนั้นประเทศไทยนับว่าเป็นลูกค้าที่สั่งกล้วยไม้จากฮาวายเข้ามาปลูก เลี้ยงเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีความคิดริ เริ่มที่จะผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองเอง ด้วยยังฝังใจว่ากล้วยไม้ต่างประเทศเท่านั้น ที่ควรค่าแก่การปลูกเลี้ยงในประเทศไทย

สำหรับประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ได้เริ่มโดยชาวต่างชาติเมื่อประมาณ ๑๖๐ ปีก่อน คือ ประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ ได้มีบันทึกไว้ว่า ได้มีเรือนกล้วยไม้ขนาดใหญ ่และมีการปลูกเลี้ยงอย่างถูกวิธี โดยการนำกล้วยไม้จากต่างประเทศเข้ามาปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมแบบในโรงเรือน ซึ่งป็นของนายเฮนรี่ อาลาพาสเตอร์ (ต้นสกุล เศวตศิลา) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกล้วยไม้ที่มี ชื่อเสียงมาก ต่อมาเมื่อท่านได้ถึงแก่กรรมลง ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ได้รับช่วงกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ ของนายอาลาพาสเตอร์ มาปลูกเลี้ยง และได้สะสมพันธุ์ต่างๆ เพิ่มเติมท่านได้ทำการผสมพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ต่างๆ เหล่านั้นจนมีความชำนาญ และได้รับการยกย่องต่อมาว่าเป็นผู้มีฝีมือการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้อีกท่าน หนึ่ง การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเมืองไทยได้พัฒนารูปแบบการปลูกเลี้ยงอย่างรวดเร็วจน ถึง พ.ศ.๒๔๗๒ ได้มีผู้ทำกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมที่มีชื่อว่า มาดามปอมปาดัวร์ ปลูกกันแพร่หลายเป็นเรือนโรงกล้วยไม้ขนาดใหญ่หลายแห่ง เนื่องจากเลี้ยงดูง่ายเจริญเติบโตได้ดีในเขตพระนคร และสามารถให้ดอกได้เรื่อยๆตลอดปี ซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มปลูกกล้วยไม้อย่างจริงจังในประเทศไทย แต่ งานด้านวิชาการต่างๆยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงของคนกลุ่มน้อย ไม่ได้แพร่หลายเหมือนปัจจุบันนี้อย่างไรก็ตามเมื่อก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเมืองไทย มักจะกล่าวกันว่าเป็นงานหรือเป็นเรื่องของคนแก่ หรือผู้มีอันจะกิน ต่างคนก็ต่างปลูกเลี้ยงในบ้านของตนเอง มิได้มีการคบค้าสมาคมซึ่งกัน และกันปลูกกันผิดๆ ถูกๆ ทำให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงงามบ้างไม่งามบ้าง แล้วแต่ความสามารถในการดูแลรักษา ของแต่ละคนว่าเหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้ที่ตัวเองปลูกมากน้อยเพียงใด ต่อมาหลังจาก พ.ศ.๒๕๐๐ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้อิงวิชาการมากขึ้น ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้ออกจากบ้านมาพบปะสังสรรค์ มีการคบค้าสมาคมร่วมกัน มีการแลกเปลื่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ถึงกับมีคำพูดในหมู่นักเลี้ยงกล้วยไม้ว่า “ผู้เลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้แบ่งชนชั้น เพศ วัย” หรืออาจจะพูดว่าคุณวุฒิ และวัยวุฒิจะไม่เป็นอุปสรรคในการทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมในวงการกล้วยไม้ไทย ต่อไป ในห้วงระยะเวลานี้ทำให้เกิด “คนดีศรีกล้วยไม้ไทย” ขึ้นสี่ท่านด้วยกันในสี่ท่านนี้เป็นชาวต่างประเทศหนึ่งคน ทุกคนได้ทำประโยชน์แก่วงการกล้วยไม้ไทย ที่แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ

ท่านที่หนึ่ง และที่สองได้ทำงานเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยร่วมกัน สองท่านนี้คือ ท่านอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๕๓๘) และท่านไซเดนฟาแดน (Gunnar Seidenfaden) สองท่านนี้ได้ทำประโยชน์มหาศาลให้กับวงการกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะพูดว่าวงการกล้วยไม้โลกก็ว่าได้ ท่านได้ทำหน้าที่ในการสำรวจ จำแนก แบ่งแยกชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้พื้นเมือง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและรวมไปถึงกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิด และกระจายพันธุ์ในแถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย เช่น ประเทศลาวเป็นต้น ผลงานร่วมกันของทั้งสองท่าน ได้ตีพิมพ์เป็น เอกสารวิชาการชื่อว่า “THE ORCHIDS OF THAILAND A PRILIMINARY LIST” รวบรวม และตีพิมพ์โดยสยามสมาคม ในปี พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๐๒ โดยงานในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมไว้ซึ่งชนิดพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองของไทยทั้งหมดเท่าที่สำรวจพบใน ขณะนั้น และได้บอกถึงลักษณะต่างๆ ของกล้วยไม้พร้อมมีรูปวาดบรรยาย รายละเอียด ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพื้นเมืองตามที่ชาวบ้านใช้เรียกกล้วยไม้นั้นๆ แหล่งกำเนิดสถานที่ๆพบกล้วยไม้นั้นๆ ในธรรมชาติ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของท่านไซเดนฟาเดน คือเอกสารวิชาการ ชื่อว่า ORCHID GENERA IN THAILAN D ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ ถึง ๑๔ และ CONTRIBUTION TO THE ORCHID FLORA OF THAILAND ๑๒ และฉบับที่ ๑๓ งานประจำของอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์ ของกรมป่าไม้ ส่วนท่าน ไซเดนฟาเดน เป็นเอกอัคราชฑูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย เนื่องจากทั้งสองท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางด้านพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกล้วยไม้ จึงได้รับการดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ นอกจากนี้ท่าน ไซเดนฟาเดนยังได้รับ ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีกด้วย

บุคคลที่มีความสำคัญต่อกล้วยไม้ไทยอีกท่านหนึ่งก็คือ ท่านศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้นำกล้วยไม้ไทยให้นานาอารยประเทศได้รู้จัก โดยท่านได้อุทิศเวลาว่างส่วนตัวในการวางแผนวิจัย และหาทางพัฒนากิจการกล้วยไม้ไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้เป็นผู้เริ่มก่อตั้งสมาคมกล้วยไม้บางเขน จากเดิมเป็นชมรมกล้วยไม้บางเขน และได้สถาปนาเป็น สมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ และอีกสองปีต่อมา สมาคมได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับไว้ใน พระบรมราชูปถัมภ์หลังจากนั้นท่านได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสมาคมชมรมกล้วย ไม้ ในต่างจังหวัดได้เริ่มนำวิชาการกล้วยไม้มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม ในปีพ.ศ.๒๕๐๔ โดยมีการเปิดสอนวิชากล้วยไม้ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จากนั้นได้เริ่มนำวงการกล้วยไม้ไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยท่านจะเป็นองค์ปาฐกในงานชุมนุมกล้วยไม้โลกทุกครั้งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นต้นมา จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ท่านได้นำงานชุมนุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ ๙ มาจัดที่ประเทศไทยในป ีพ.ศ.๒๕๒๑ เนื่องจากท่านได้มีบทบาทในงานประชุมกล้วยไม้ต่างๆ จึงได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นกรรมการประสานงานงานกล้วยไม้ระดับโลก กรรมการอนุรักษ์กล้วยไม้โลก และกรรมการอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเกียรติของประเทศไทยทั้งสิ้น รวมทั้งที่ท่านได้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกด้วยท่านหนึ่ง คือ

คุณทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติ ท่านสำเร็จการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แต่ความรู้ความสามรถทางด้านกล้วยไม้อันเกิดจากการเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเอง นับว่ามีมากมาย ท่านเป็นนักธุรกิจกล้วยไม้ ผู้หนึ่งที่นำธุรกิจกล้วยไม้ของไทยสู่สากลให้มากยิ่งขึ้นกล่าวคือ อ่านได้นำสินค้ากล้วยไม้ไทยไปแสดงในต่างแดน ทำให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักกล้วยไม้ไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น และเมื่อได้เดินทางไปต่างประเทศ คุณทองหล่อ รักไพบูลย์สมบัติท่านได้ นำพันธุ์กล้วยไม้จากต่างประเทศ ชนิดพันธุ์ใหม่ๆ นำกลับเข้ามาในไทยเพื่อให้ผู้ปลูกเลี้ยงชาวไทย ได้พัฒนาเพื่อนำกลับเป็นสินค้ากลับส่งขายออกไปยังต่างประเทศอีกครั้ง

ผลสืบเนื่องจากการติดต่อกับชาวต่างชาติทำให้ธุรกิจ กล้วยไม้ได้ขยายกว้างขึ้นผลอันนี้ทำให้การพัฒนากล้วยไม้ไทยได้ ดำเนินการไปเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง และทำให้เกิดนักธุรกิจด้านกล้วยไม้รุ่นหลัง ๆ อีกหลาย ๆ คน จากความสามารถความดีที่คุณทองหล่อ ได้ทำให้กับวงการกล้วยไม้ไทยในด้านธุรกิจนี่เอง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้มอบมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ท่านทั้ง 4 ท่านที่ได้กล่าวมานี้เรียกได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ไทย จะเห็นได้ว่าแต่ละท่านทำงานให้กับวงการกล้วยไม้ไทยในแต่ละด้านโดยงานต่างๆ ที่แต่ละท่านทำแทบจะไม่ซ้ำซ้อนกันเลย จากการที่ทั้ง 4 ท่านได้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ไทยขึ้น ทำให้เกิดนักวิชาการด้านกล้วยไม้ นักธุรกิจกล้วยไม้ ตามมาเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระงานของทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างมาก

ที่มา  http://www.orchidtropical.com/articleid45.php

การให้น้ำและปุ๋ย

การให้น้ำและปุ๋ย

น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้

  • น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
  • น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
  • การให้น้ำ
    วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้

  • จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น
  • ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก
  • ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้
  • สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
  • สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด
  • เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ
    การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้
    ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้
    โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า

  • ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้
  • ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ
  • ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา
  • การให้ปุ๋ย
    ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ
    วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  • รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น
  • พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป
  • วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้
  • ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี
  • ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย
  • เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย
    เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้

    ที่มาhttp://std.kku.ac.th/4530802136/keep2.html

    ลักษณะทั่่วไปของกล้วยไม้

    ลักษณะทั่วไป

    กล้วยไม้เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ สมบูรณ์ คือ มีราก ต้น ใบ ดอก และผล รากของกล้วยไม้ไม่มีรากแก้ว ลำต้นไม่มีแก่นไม้ ใบจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีเส้นใบขนานกันตามความยาวของใบ ซึ่งมีรายละเอียดของส่วนต่างๆ ดังนี้

    ราก

    กล้วยไม้มีระบบรากแบ่งเป็นหลายชนิด เช่น รากดิน รากกึ่งดิน รากกึ่งอากาศ และรากอากาศ

    กล้วยไม้

    ระบบรากดิน

    จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดิน ตัวรากจะมีน้ำมาก เช่นกล้วยไม้สกุลนางอั้ว กล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน เช่น ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนหัวจะแตกหน่อใบอ่อนจะชูพ้นขึ้นมาบนผิวดิน และออกดอกในตอนปลายฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไป คงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำและมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้

    กล้วยไม้

    ระบบรากกึ่งดิน

    มีรากซึ่งมีลักษณะอวบน้ำ ใหญ่หยาบและแตกแขนงแผ่กระจายอย่างหนาแน่น สามารถเก็บสะสมน้ำได้ดีพอสมควร กล้วยไม้ประเภทนี้พบอยู่ตามอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังร่วนโปร่ง กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งดิน ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลสเปโธกล๊อตติส สกุลเอื้องพร้าว เป็นต้น

    กล้วยไม้

    ระบบรากกึ่งอากาศ

    เป็นระบบรากที่มีเซลล์ผิวของรากมีชั้นเซลล์ที่หนาและมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ผิวนอกเกลี้ยงไม่มีขน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เก็บและดูดน้ำได้มาก สามารถนำน้ำไปใช้ตามเซลล์ผิวได้ตลอดความยาวของราก ระบบรากกึ่งอากาศมักมีรากแขนงใหญ่หยาบอยู่กันอย่างหนาแน่นไม่มีรากขนอ่อน รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ กล้วยไม้ระบบรากกึ่งอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลออนซิเดี้ยม เป็นต้น

    กล้วยไม้

    ระบบรากอากาศ

    กล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศจะมีรากขนาดใหญ่ แขนงรากหยาบ เซลล์ที่ผิวรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำ เก็บน้ำและนำน้ำไปตามรากได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี รากอากาศไม่ชอบอยู่ในสภาพเปียกแฉะนานเกินไป นอกจากนั้นปลายรากสดมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์สามารถทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับใบเมื่อมี่แสงสว่าง เพราะฉะนั้นรากประเภทนี้จึงไม่หลบแสงสว่างเหมือนรากต้นไม้ดินทั่วๆ ไป กล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลแมลงปอ สกุลเข็มและกล้วยไม้สกุลเรแนนเธอร่า

    ลำต้น

    หมายถึงส่วนที่เป็นข้อ บริเวณส่วนเหนือข้อและติดอยู่กับข้อจะมีตา ตาอาจจะแตกเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อนหรือช่อดอกก็ได้ ส่วนที่เป็นข้อเป็นส่วนที่มีใบ กาบใบ หรือกาบของลำต้นที่ไม่มีส่วนของใบเจริญออกมาได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างข้อเรียกว่า ปล้อง สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลำต้นแท้ และลำต้นเทียม

    กล้วยไม้

    ลำต้นแท้

    คือลำต้นที่มี ข้อ ปล้อง เหมือนกับลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป ที่ส่วนเหนือข้อจะมีตา ซึ่งสามารถเจริญเป็นหน่อใหม่ และช่อดอกได้ ลำต้นประเภทนี้จะเจริญเติบโตออกไปทางยอด ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า แมลงปอ และรองเท้านารี

    กล้วยไม้

    ลำต้นเทียม

    หรือที่เรียกว่า ลำลูกกล้วย ทำหน้าที่สะสมอาหาร ตาที่อยู่ตามข้อบนๆ ของลำลูกกล้วยสามารถแตกเป็นหน่อหรือช่อดอกได้ แต่ลำต้นที่แท้จริงของกล้วยไม้ประเภทนี้คือ เหง้า ซึ่งเจริญในแนวนอนไปตามผิวของเครื่องปลูก ลักษณะของเหง้ามีข้อและปล้องถี่ กล้วยไม้ที่มีลำต้นลักษณะนี้ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย แคทลียา เอพิเด็นดรั้มและสกุลออนซิเดี้ยม

    ใบ

    กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือเส้นใบจะอยู่ในลักษณะขนานกันไปตามความยาวของใบ ใบของกล้วยไม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกล้วยไม้ นับตั้งแต่รูปร่าง สีสัน ขนาด และการทรงตัวตามธรรมชาติ ลักษณะใบของกล้วยไม้มีหลายชนิด เช่น ใบแบน ใบกลม และใบร่องซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างพวกใบกลมกับใบแบน แต่ใบกล้วยไม้ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะแบน การเรียงตัวจะมีทั้งเรียงสลับกันและเรียงซ้อนทับกัน สีของใบส่วนมากมีสีเขียวอมเหลืองบางชนิดใบมีสีสันลวดลายสวยงาม หน้าที่ของใบ คือ สังเคราะห์แสง โดยสารสีเขียวเรียกว่าคลอโรฟีลล์ที่อยู่ภายในใบร่วมกับแสงสว่าง ช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศผ่านเข้าไปทางรูถ่ายก๊าซของใบทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นน้ำตาล นอกจากนี้ใบยังทำหน้าที่คายน้ำออกจากต้น ช่วยให้รากสามารถดูดน้ำและอาหารเข้าสู่ต้น เป็นการแทนที่น้ำที่ระเหยออกจากใบ ทำให้ต้นได้อาหารหรือปุ๋ยผ่านเข้าทางรากได้

    กล้วยไม้ใบของกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น กล้วยไม้ในสกุลสแพโตกล๊อตทิส (Spathoglottis) มีลักษณะใบเป็นจีบ กล้วยไม้พญาไร้ใบ (Chiloschista usneoides LDL) มีลักษณะใบที่เล็กมากเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในที่ค่อนข้างร่ม มีรากหนาแน่นสีเขียว สามารถปรุงอาหารได้ ใบจึงเจริญออกมามีขนาดใหญ่กว่าหัวเข็มหมุดเล็กน้อย กล้วยไม้รองเท้านารี (Paphilopedilum) ลักษณะใบมีสีสันงดงามหลายชนิดมีใบสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อน กล้วยไม้ (Anoectochilus siamensis) ลักษณะใบมีสีน้ำตาลอมแดงและมีลายหรือกระสีขาวสวยงามมาก

    ช่อดอก

    กล้วยไม้(Inflorescence) มีลักษณะแตกต่างกันไปอย่างกว้างขวางแล้วแต่สกุลและชนิดของกล้วยไม้ บางชนิดมีก้านช่อสั้นมาก บางชนิดมีก้านช่อยาว บางชนิดมีช่อดอกตั้งแข็ง (Erect) บางชนิดมีช่อดอกลักษณะโค้งหรือห้อยหัวลง เช่น ช่อดอกกล้วยไม้ไอยเรศ (Rhynchostylis retusa) กล้วยไม้บางชนิดมีช่อดอกยาวและมีแขนงแยกออกไปอีก เช่น ช่อดอกกล้วยไม้ในสกุลเรแนนเธอร่า (Renanthera) ก้านซึ่งเป็นแกนกลางของช่อดอกจะประกอบด้วยข้อและปล้อง ช่อดอกของกล้วยไม้บางชนิดมีตาซึ่งอยู่ตามข้อของก้านที่เป็นแกนช่อสามารถแตกและเจริญออกมาเป็นต้นกล้วยไม้เล็กๆ ได้ เช่น ก้านช่อของกล้วยไม้สกุลฟาแลนด์น๊อฟซิส เป็นต้น

    ดอก

    กล้วยไม้ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน มีหน้าที่ในการสืบพันธุ์ ดอกมีลักษณะ คือ กลีบรองดอก คือกลีบชั้นนอก เป็นส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันส่วนต่างๆ ในขณะที่มีสภาพเป็นตาดอกอยู่ มักมีลักษณะและสีสันคล้ายใบ กลีบดอก กล้วยไม้กลีบดอก 6 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอก 3 กลีบ และชั้นใน 3 กลีบ กลีบชั้นนอกอยู่ข้างบนหนึ่งกลีบ ข้างๆ หรือข้างล่าง 2 กลีบ กลีบคู่ล่างนี้จะมีขนาดรูปร่างและสีสันเหมือนกัน แต่กลีบบนอาจแตกต่างออกไป สำหรับกลีบชั้นใน 3 กลีบ กลีบหนึ่งอยู่ข้างล่าง อีก 2 กลีบอยู่ข้างบน กลีบคู่นี้จะมีขนาด รูปทรง สีสัน เหมือนกัน ส่วนกลีบล่างจะเปลี่ยนไปโดยมีขนาดเล็กลงหรือโตขึ้น และมีสีสันผิดไปจากกลีบคู่บน กลีบคู่ล่างมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ปาก หรือ กระเป๋า

    เกสร

    คืออวัยวะที่แท้จริงของพืชมีดอก หรือเป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยให้การผสมพันธุ์กล้วยไม้เป็นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เกสรกล้วยไม้มีลักษณะเฉพาะ คือ ส่วนของก้านชูยอดเกสรเมียกับก้านชูอับเรณูของเกสรผู้ รวมเป็นอวัยวะอันเดียวกัน และยอดเกสรเมียกับเรณูติดอยู่ส่วนนี้ รวมเรียกส่วนนี้ทั้งหมดว่า “เส้าเกสร” ซึ่งจะยื่นออกมาจากจุดเดียวกันกับที่โคนกลีบดอก ติดอยู่ที่ปลายสุดของเส้าเกสรเป็นที่อยู่ของเรณู ซึ่งเป็นเชื้อเพศผู้ เรณูนี้เป็นเม็ดขนาดเล็กมากมีฝาครอบปิดอยู่มิดชิด เรณูของกล้วยไม้มักเกาะกันเป็นก้อนเหนียวๆ เรียกว่า ก้อนเรณู ถัดจากปลายสุดลงมา เป็นแอ่งกลมเล็กมีน้ำเหนียวอยู่เต็มแอ่ง ส่วนนี้คือ แอ่งยอดเกสรตัวเมีย การผสมพันธุ์กล้วยไม้เริ่มแรกก้อนเรณูจะต้องเข้าไปในแอ่งน้ำเหนียว จะทำหน้าที่กระตุ้นให้เม็ดเรณูงอกเข้าไปผสมพันธุ์กับไข่ ในรังไข่ต่อไป บริเวณก้านดอกส่วนที่อยู่ชิดกับโคนกลีบดอก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าก้านดอกที่ต่ำลงไป ก้านดอกส่วนนี้เป็นที่อยู่ของอวัยวะเพศเมียอีกส่วนหนึ่ง คือ รังไข่ ภายในรังไข่จะมีไข่อ่อนเป็นเม็ดเล็กๆ เกาะติดอยู่มากมาย ไข่อ่อนเหล่านี้เมื่อได้รับการผสมเชื้อเพศผู้จากเรณู ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตกลายเป็นเมล็ด ใช้สำหรับสืบพันธุ์ต่อไป

    ผลหรือฝัก

    ฝักกล้วยไม้มีอายุตั้งแต่ผสมเกสรไปจนถึงฝักแก่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของกล้วยไม้ร่วมกับสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ขององค์ประกอบในการเจริญงอกงาม กล้วยไม้บางชนิดฝักอาจจะแก่ได้ในระยะเวลาเพียงเดือนกว่าเท่านั้น บางชนิดฝักจะอยู่กับต้นถึงปีครึ่งถึงจะแก่ ฝักกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอมักจะห้อยปลายลงเป็นส่วนมาก เช่น ฝักของกล้วยไม้สกุลหวาย เป็นต้น แต่ละฝักมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเรียวยาวหรือป่องกลางคล้ายลูกรักบี้ เมล็ดมีขนาดเล็กมาก มีแต่คัพภะ แต่ไม่มีอาหารสะสม มีเปลือกบางๆ หุ้มเมล็ดอยู่ มีสีแตกต่างกันไป เช่น น้ำตาล เทา เหลือง หรือขาว และด้วยเหตุที่เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมาก จึงอาจปลิวกระจายไปตามลมได้ง่ายและเป็นระยะทางไกลได้

    ที่มา  http://www.panmai.com/Orchid/orchid2.shtml

    กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้

    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้

    ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งยังคงอุดม สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของพืชในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) จากรายงานพบว่าประเทศไทยเป็นแหล่งแพร่กระจายพันธุ์และมีความหลากหลายทางด้าน ชนิดพันธุ์ (species diversity) ของพืชในวงศ์กล้วยไม้จำนวนมากมาย
    พืชวงศ์กล้วยไม้พบได้ตั้งแต่ ระดับพื้นดิน (terrestrial orchids) ไปจนกระทั่งบนเรือนยอดของพุ่มไม้(epiphyte orchids)บนเทือกเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 2,500 เมตรขึ้นไป เช่น ดอยอินทนนท์ เป็นต้น ปัจจุบันพบกล้วยไม้พันธุ์แท้ (species) ที่มีแหล่งแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศไทยมีจำนวนถึง 1,157 ชนิด ในสกุลที่ต่างกันถึง 176 สกุล และยังมีรายงานค้นพบชนิดใหม่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความสำคัญทางด้านแหล่งพันธุกรรมของพืช ในวงศ์กล้วยไม้ประเทศหนึ่งของโลก
    ปัจจุบันปัญหา การนำกล้วยไม้ป่าออกมาจากป่าตามธรรมชาติเพื่อจำหน่ายหรือทำการค้าที่ผิด กฎหมาย (illegal trade) ทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศหรือลักลอบส่งออกไปยังต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นการลดจำนวนประชากรของกล้วยไม้ป่าในธรรมชาติโดยตรง จนถึงปัจจุบันการค้ากล้วยไม้ป่ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา พบว่ามีปริมาณมากจนน่าตกใจ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยไม้ป่าออกนอกราชอาณาจักร จากสถิติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-พ.ศ 2540 มากถึง 2,491,564 ต้น (สองล้านสี่แสนเก้าหมื่นกว่าต้น) ดูตารางที่ 1 นอกจากการนำกล้วยไม้ป่าออกจากป่าตามธรรมชาติเพื่อทำการค้าแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมากมายที่มีผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อจำนวนประชากรของกล้วยไม้ป่าใน บ้านเราลดลงอย่างเห็นได้ชัด กล้วยไม้บางชนิดที่พบเห็นอยู่มากมายในอดีต กลับกลายเป็นของหาพบยากในปัจจุบัน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) บางชนิด เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum Rchb.f.) และฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindl.) เป็นต้น ที่ผ่านมากระแสการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ได้รับความ สนใจจากนานาประเทศ ในปี พ.ศ. 2515 ประเทศสมาชิกสหภาพระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (The International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources หรือ IUCN) ได้มีการประชุมพิจารณาแนวทางในการควบคุมสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศขึ้น ณ ประเทศสวีเดน ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าขึ้นเป็นครั้งแรก ในโลกของการค้าเสรี ต่อมาในปี 2516 จึงได้มีการประชุมและยกร่างระบบ ระเบียบการควบคุมการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่า “อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญ พันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือ CITES)” ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “อนุสัญญาไซเตส” ตามชื่อย่อของอนุสัญญาดังกล่าว ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯ ครบ 10 ประเทศทำให้อนุสัญญาฯ นี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิกหรือภาคีในอนุสัญญาไซเตส จำนวน 173 ประเทศ (กันยายน 2551)

    A = Artificially Propagated (ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียมโดยมนุษย์)
    W = Wild Collected (เก็บมาจากป่าตามธรรมชาติ)

    ประ เทศไทยมีกฎหมายภายในเพื่อควบคุมการค้าและอนุรักษ์กล้วยไม้ป่ามิให้สูญพันธุ์ จำนวนหลากหลายฉบับ แต่กฎหมายเหล่านั้นเป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล การค้ากล้วยไม้ป่าที่ผิดกฎหมาย การอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าที่แท้จริงจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าของประเทศไทยให้คง อยู่ให้อนุชนรุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์สืบต่อไป

    กฎหมายที่เกี่ยวกับการค้าและอนุรักษ์ พืชในวงศ์กล้วยไม้

    ปัจจุบัน การค้าขายพืชในวงศ์กล้วยไม้ไม่ว่าท่านจะค้าขายภายในประเทศและส่งออกไปยัง ต่างประเทศปัจจุบันถูกควบคุมโดยกฎหมายภายในหลายฉบับ กฎหมายที่ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวกับพืชในวงศ์กล้วยไม้ควรจะต้องรู้จักและ รับทราบ มีดังนี้คือ
    1. กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์
    2. กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช
    3. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน
    4. กฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช

    กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์
    กล้วยไม้ป่าทุกชนิด จัดเป็น “ของป่าหวงห้าม” ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่า หวงห้าม พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 กฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเก็บหาของป่าหวงห้าม หรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่ของป่าหวงห้ามในป่า ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องเสียค่าภาคหลวงกับทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอ นุญาต (มาตรา 29) และผู้ใดนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ ต้องมีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไปด้วยตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง (มาตรา 39) นอกจากนี้กฎหมายป่าไม้ยังได้บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ไดค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 29 ทวิ) สำหรับกล้วยไม้ป่าปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้สอยใน ครัวเรือนแห่งตน คือ 20 ต้น บทกำหนดโทษของกฎหมายป่าไม้ คือ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 มาตรา 29ทวิ และมาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชป่าไว้ในถิ่น เดิม (in situ conservation) อีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เป็นต้น

    กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช
    พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ได้กำหนดคำนิยาม (มาตรา 3) คำว่า พันธุ์พืชป่าและพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ไว้ว่า “พันธุ์พืชป่า” หมายความว่า พันธุ์พืชที่มีหรือเคยมีอยู่ในประเทศตามสภาพธรรมชาติและยังมิได้นำมาใช้เพาะ ปลูกอย่างแพร่หลาย และ “พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป” หมายความว่า พันธุ์พืชที่กำเนิดภายในประเทศหรือมีอยู่ในประเทศ ซึ่งได้มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย และให้หมายความรวมถึง พันธุ์พืชที่ไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นหรือพันธุ์พืชป่า และในมาตรา 52 ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษาทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์ พืช ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกระทรวง ในที่นี้กล้วยไม้ป่าหรือกล้วยไม้พันธุ์ปลูกที่มีแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศ จะถูกควบคุมและคุ้มครองโดยกฎหมายฉบับนี้ กล่าวคือหากผู้ใดนำพันธุ์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อ ให้ได้พันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมาท่านจะต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผล ประโยชน์ให้รัฐก่อน เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายบังคับ บทลงโทษได้กล่าวไว้ในมาตรา 66 ว่าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในปัจจุบันทางภาครัฐกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาถึงความเหมาะสมในข้อกำหนด กฎเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์ให้รัฐ
    สำหรับ พันธุ์พืชใหม่ ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) และสกุลแวนดา (Vanda) ที่เป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ ชัดเจน มีลักษณะคงที่ ขยายพันธุ์แล้วสม่ำเสมอ ท่านสามารถนำไปยื่นขอจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิทธิในพันธุ์นั้นๆ ได้ ณ กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2-940 7214 ซึ่งสิทธิในการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ในพืชวงศ์กล้วยไม้ มีอายุ 12 ปี หลังจากที่ได้รับสิทธิแล้ว

    กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน
    พืชในวงศ์กล้วยไม้ทุกชนิด จัดเป็น “พืชอนุรักษ์” ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน ตามพันธกรณีต่ออนุสัญญาไซเตส ที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิก ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สาระสำคัญของพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม) มีดังนี้คือ
    เพิ่ม เติมคำนิยามคำว่า พืชอนุรักษ์ โดยให้หมายถึงพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และกำหนดความหมายของคำว่า “การขยายพันธุ์เทียม” หมายความว่า การขยายพันธุ์ที่ไม่ใช่การขยายพันธุ์โดยธรรมชาติตามเกณฑ์และวิธีการที่ อธิบดีกำหนด (มาตรา 3)
    ห้าม มิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก นำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
    ผู้ ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้าให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือ เพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)
    บท ลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ตรีและมาตรา 29 จัตวา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    กฎหมาย ฉบับนี้เป็นกฎหมายบังคับ ควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน พืชอนุรักษ์ หรือซากของพืชอนุรักษ์ ซึ่งในที่นี้รวมถึงพืชในวงศ์กล้วยไม้ทุกชนิด ในปัจจุบันผู้ใดจะทำการนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่านพืชอนุรักษ์วงศ์กล้วยไม้ทุกชนิดหรือแม้กระทั่งซากไม่ว่าจะมี ชีวิตหรือซากที่ตายแล้วที่สามารถจำแนกออกได้ว่าเป็นพืชในวงศ์กล้วยไม้จะต้อง มีหนังสืออนุญาตไซเตส (CITES permit) กำกับสินค้าทุกครั้งถ้าไม่มีถือว่ามีความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ เช่นในกรณีที่จะส่งออกต้นกล้วยไม้ไปยังต่างประเทศ จะต้องขอหนังสืออนุญาตส่งออก (CITES export permit) จากกรมวิชาการเกษตร ก่อนทำการส่งออกดังนี้
    ในกรุงเทพมหานคร ยื่นแบบคำขอได้ที่ฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 5687
    ใน ต่างจังหวัดยื่นแบบคำขอได้ที่ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่ ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่ และด่านตรวจพืชเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
    ใน กรณีจะนำเข้าต้นกล้วยไม้เข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องขอหนังสืออนุญาตนำเข้า (CITES import permit) ณ ด่านตรวจพืชทุกด่าน สังกัดกรมวิชาการเกษตรที่เปิดทำการเท่านั้น ที่สำคัญการขออนุญาตนำเข้าจะ ต้องแนบหลักฐานหนังสืออนุญาตไซเตสส่งออก (CITES Export permit) ของประเทศต้นทางฉบับจริงมาแสดงประกอบเป็นหลักฐานด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะออกหนังสืออนุญาตนำเข้าและอนุญาตให้นำเข้าได้
    สำหรับ กรณีที่เป็นกล้วยไม้ลูกผสม (hybrid) ข้ามชนิด (intrageneric) และลูกผสมข้ามสกุล (intergeneric) ไม่ถือว่าเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 แต่เนื่องจากตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาไซเตสถือว่ากล้วยไม้ลูกผสมทุกชนิดยัง อยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญา ทำให้ประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตสบางประเทศยังมีการควบคุมกล้วยไม้ลูกผสมอยู่ ดังนั้นเวลาส่งออกกล้วยไม้ลูกผสมไปยังต่างประเทศยังต้องถือปฏิบัติเช่นเดียว กับกล้วยไม้พันธุ์แท้ทุกประการ (แต่ไม่เป็นการบังคับ) ซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้บริการออกหนังสือรับรองการส่งออกพืชลูกผสมพืชใน บัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสให้ โดยจะใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับหนังสืออนุญาตส่งออกไซเตส เพียงแต่ระบุประเภทของหนังสืออนุญาตเป็นหนังสือรับรองประเภทอื่นๆ (Other certificate) แทน
    แต่ ปัจจุบันได้มีข้อยกเว้นเพิ่มเติม กล่าวคือ กล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมที่ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียม ในสกุล Cymbidium สกุล Dendrobium สกุล Phalaenopsis และสกุล Vanda ไม่ถือว่าเป็นพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

    1. ตัวอย่าง สินค้านั้นจะต้องบรรจุอยู่ในหีบห่อ ได้แก่ กล่องกระดาษ กล่องหรือลัง โดยบรรจุกล่องๆ ละ 20 ต้น หรือมากกว่าขึ้นไป และเป็นกล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมชนิดเดียวกัน
    2. ตัวอย่าง พืชในแต่ละกล่องจะต้องมีลักษณะที่ง่ายต่อการจำแนกออกได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ มาจากการขยายพันธุ์เทียม แสดงลักษณะถึงความสม่ำเสมอและมีสภาพสมบูรณ์ และ
    3. ตัวอย่างสินค้านั้น มีเอกสารกำกับ ได้แก่ ใบรายการแสดงสินค้า เป็นต้น ระบุสำแดงจำนวนต้นต่อชนิดกล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมอย่างชัดเจน

    และอีกกรณีหนึ่งคือ กล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมที่ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียม ในสกุลต่อไปนี้

    1. สกุล Cymbidium (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน และลูกผสมข้ามสกุล)
    2. สกุล Dendrobium (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน ประเภทประเภท nobile type และphalaenopsis type เท่านั้น)
    3. สกุล Phalaenopsis (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน และลูกผสมข้ามสกุล)
    4. สกุล Vanda (ลูกผสมต่างชนิดภายใต้สกุลเดียวกัน และลูกผสมข้ามสกุล)

    ไม่ถือว่าจัดเป็นพืชภายใต้อนุสัญญาไซเตส ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ

    1. ตัวอย่างพืชเหล่านั้นค้าขายในลักษณะต้นพืชนั้นอยู่ในระยะการออกดอก ได้แก่ มีดอกบานให้เห็นอย่างน้อย 1 ดอก
    2.. ตัวอย่างพืชเหล่านั้นอยู่ในกระบวนการพร้อมที่จะจำหน่ายปลีก ได้แก่ มีป้ายชื่อชัดเจนและบรรจุหีบห่อ เรียบร้อย
    3. ตัวอย่าง พืชเหล่านั้นมีลักษณะการขยายพันธุ์เทียม บ่งบอกถึงลักษณะสะอาด ช่อดอกไม่ถูกทำลาย ระบบรากสมบูรณ์ ปกติ ไม่มีร่องรอยการถูกทำลาย มีลักษณะแตกต่างจากที่ได้มาจากป่า
    4. ตัวอย่าง พืชนั้นปราศจากลักษณะที่เป็นของป่า ได้แก่ มีลักษณะถูกทำลายโดยแมลงศัตรูพืชหรือแมลงอื่นๆ ไม่มีเชื้อรา หรือสาหร่ายบนใบ หรือช่อดอก ราก ใบ หรือส่วนอื่นๆ ไม่มีร่องรอยความเสียหายที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการเก็บเกี่ยว และ
    5. ตัวอย่าง พืชนั้น มีป้ายชื่อ หรือบรรจุหีบห่อ แสดงชื่อทางการค้า ประเทศต้นทางที่ขยายพันธุ์เทียม หรือในกรณีที่ทำการค้าระหว่างประเทศ กระบวนการจำหน่ายสินค้านั้น จะต้องมีป้ายบอกประเทศผู้ผลิต บรรจุหีบห่อ ป้ายชื่อพืช หรือมีรูปภาพประกอบ ทั้งนี้จะต้องดูออกได้ง่ายๆ ในกรณีที่ตัวอย่างพืชนั้นไม่อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวโดยสมบูรณ์ จะต้องมีหนังสืออนุญาตไซเตสกำกับมาด้วย

    พืชอนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้ตามกฎหมายฉบับนี้จัดแบ่งออกเป็น 2 บัญชี
    พืชอนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้บัญชีที่ 1 ประกอบด้วยดังนี้
    1. Aerangis ellisii                       เออแรงจิส เอลลิสซิไอ
    2. Dendrobium cruentum            เดนโดรเบียม ครูเอนตัม (เอื้องปากนกแก้ว)
    3. Laelia jongheana                    เลเลีย จองเกียนา
    4. Laelia lobata                          เลเลีย โลบาตา
    5. Paphiopedilum spp.                พาฟิโอเพดิลัม สปีชีส์(สกุลรองเท้านารีทุกชนิด)
    6. Peristeria elata                      เพริสเตเรีย อีลาตา
    7. Phragmipedium spp.               แพรกมิพีเดียม สปีชีส์
    8. Renanthera imschootiana        รีแนนเธอรา อิมชูทเทียนา

    พืช อนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้บัญชีที่ 1 ถ้าเก็บออกมาจากป่าตามธรรมชาติจะห้ามทำการค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ก็จะถูกควบคุมโดยเข้มงวดทั้งประเทศผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้า แต่ถ้าได้มาจากการขยายพันธุ์เทียมและมีการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยง เพื่อการค้าไว้กับกรมวิชาการเกษตรแล้ว จะอนุญาตให้ทำการค้าได้
    สำหรับพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ในวงศ์นี้ ถ้าเป็นต้นอ่อนหรือที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อไม่ว่า จะอยู่ในอาหารแข็งหรืออาหารเหลวซึ่งขนส่งในภาชนะบรรจุที่ปลอดเชื้อ ไม่ถือว่าเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 สามารถทำการค้าได้โดยเสรี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศปลายทาง เช่นกัน ผู้ส่งออกจะต้องตรวจสอบข้อมูล เงื่อนไขของประเทศผู้นำเข้าไว้ด้วย

    พืชอนุรักษ์ในวงศ์กล้วยไม้บัญชีที่ 2
    หมายถึง พืชในวงศ์กล้วยไม้ทุกชนิด (ORCHIDACEAE spp.) นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในบัญชีที่ 1 และยกเว้นข้อต่อไปนี้กฎหมายฉบับนี้จะไม่ควบคุม ดังนี้
    1. เมล็ด และละอองเกสร (รวมถึงละอองเกสรที่มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นเมือก)
    2. ต้นอ่อนหรือที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อไม่ว่าจะอยู่ในอาหารแข็งหรืออาหารเหลว ขนส่งในภาชนะที่ปลอดเชื้อ
    3. ไม้ตัดดอกที่ได้จากต้นที่ขยายพันธุ์เทียม และ
    4. ผลและส่วนของชนิดนั้นที่ได้จากต้นที่เกิดการขยายพันธุ์เทียมของทุกชนิดในสกุลVanilla spp. (วานิลลา สปีชีส์)

    การขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้พันธุ์แท้เพื่อการค้า
    ผู้ใดประสงค์จะทำการขยายพันธุ์เทียม (artificially propagated) กล้วยไม้พันธุ์แท้ (species) ทุกชนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า กฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้ ต้องขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า กับกรมวิชาการเกษตร สาระสำคัญการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า คือ
    1. ต้องแจ้งแหล่งที่มาของพ่อ-แม่พันธุ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
    2. ต้องคงจำนวนของพ่อ-แม่พันธุ์ ตลอดอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฯ ซึ่งมีอายุ 5 ปี และมีการต่ออายุใบสำคัญฯ
    3. ต้องแจ้งวิธีการขยายพันธุ์เทียมให้ชัดเจน ได้แก่ เพาะเมล็ดหรือแบ่งกอ/แยกหน่อ หรือ ปั่นตา/เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
    4. ต้องจัดทำรายงานปริมาณของต้นกล้วยไม้ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ สิ้นปีปฏิทิน
    5. ห้ามนำกล้วยไม้ป่า (ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย) มาปะปนในสถานที่เพาะเลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนไว้
    6. ต้องจัดระเบียบสถานที่เพาะเลี้ยงให้เป็นระเบียบ/เป็นสัดส่วน พร้อมที่จะได้รับตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่

    สำหรับการขยายพันธุ์เทียม ตามกฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และข้อกำหนดตามประกาศกรมวิชาการเกษตร ดังต่อไปนี้
    1. ต้องคงปริมาณของพ่อ-แม่พันธุ์ตลอดอายุการขึ้นทะเบียนใบสำคัญฯ
    2. ต้องจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อการผลิตพันธุ์ เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ย การพรางแสง เป็นต้น

    กล้วย ไม้ป่าทุกชนิดปัจจุบันจะไม่อนุญาตให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ยกเว้นได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้เท่านั้น ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2940 5687

    * ตรวจแบบคำขอนำเข้าพืชอนุรักษ์ (แบบ พ.พ. 13) และหลักฐานการนำเข้า เช่น CITES Export Permit,Phytosanitary Certificate, Certificate of Origin จากประเทศต้นทาง
    หมายเหตุ ในกรณีขออนุญาตนำเข้าพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ ล่วงหน้า ให้ยื่นแบบคำขอ ณ กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร เท่านั้น

    กฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช

    พืชในวงศ์ กล้วยไม้จัดเป็น “สิ่งกำกัด” ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าสินค้าประเภทกล้วยไม้พันธุ์แท้และรวมถึงกล้วยไม้ลูกผสม ด้วย เช่น ไม้ขวด ต้น ตา กิ่ง หน่อ ไม้ตัดดอก หรือฝัก เป็นต้น จะต้องมีหนังสือรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) ฉบับจริงจากประเทศต้นทางกำกับมาด้วยและจะต้องแจ้งการนำเข้าทุกครั้ง ณ ด่านตรวจพืชและวัสดุการเกษตร ของกรมวิชาการเกษตร ทางพนักงานเจ้าหน้าที่กักกันพืชหรือนายตรวจพืชจะทำการกักและตรวจสอบศัตรูพืช เบื้องต้นเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าเหล่านั้นปลอดจากโรคและศัตรูพืชทางด้าน กักกันพืช (Quarantine Pest) เสียก่อน จึงจะอนุญาตให้นำเข้าได้ ในกรณีที่นำเข้ากล้วยไม้เพื่อใช้ทำพันธุ์ปลูก สินค้ากล้วยไม้จะต้องถูกกักและตรวจสอบในขั้นละเอียด ณ สถานกักพืชก่อนประมาณ 7-15 วัน ถ้าหากไม่พบอาการโรคและศัตรูพืชใดๆ ทางพนักงานเจ้าหน้าที่กักพืชจึงจะอนุญาตให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรได้
    ในการส่งออกพืชในวงศ์กล้วยไม้ไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะส่งออกในรูปใดๆ ได้แก่ ต้น (plant) หรือไม้ตัดดอก (cut flower) ปัจจุบันนอกจากจะมีกฎหมายควบคุมการนำเข้า ส่งออก แล้ว ยังมีกฎหมายและกฎระเบียบว่าด้วยการกักกันพืช (Plant Quarantine Regulation) และมาตรฐานสินค้าเกษตรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การส่งออกสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ประเทศปลายทางจะกำหนดให้มีใบรับรองปลอดศัตรู พืช (Phytosanitary Certificate) กำกับสินค้าไปด้วย บางประเทศจะเข้มงวดในการนำเข้าซึ่งบางครั้งจะต้องมีการตรวจรับรองพิเศษโดย ระบุข้อความในใบรับรองปลอดศัตรูพืช ผู้ส่งออกจึงควรติดต่อสอบถามไปยังประเทศที่ต้องการจะนำเข้าก่อนเป็นการล่วง หน้า เพื่อทราบเงื่อนไขต่างๆ ในการขออนุญาตนำเข้า (Import permit) ถ้าหากต้องการรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร บริเวณเกษตรกลางบางเขน กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2579 1581, 0 2940 6466 หรือด่านตรวจพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรได้ทุกด่านที่เปิดทำการ
    สำหรับ การส่งออกสินค้าดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการส่งสิ้นค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 93) พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากกรมวิชาการเกษตรไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร โดยผู้ที่จะส่งออกดอกกล้วยไม้จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วย ไม้ออกไปนอกราชอาณาจักรต่อกรมวิชาการเกษตร ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งดอกกล้วยไม้ไปนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ในการส่งออกนั้น ผู้ส่งออกจะต้องมีบัตรประจำตัวมาแสดงและ ติดป้ายหรือฉลากหรือประทับข้อความโดยระบุข้อความต่อไปนี้เป็นภาษาอังกฤษให้ ชัดเจนที่ภาชนะบรรจุ ดังนี้
    1. ชื่อและหมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
    2. ชื่อพืชและพันธุ์
    3. ชั้นและจำนวนช่อหรือน้ำหนักของสินค้า
    4. ประเทศผู้ผลิต
    นอก จากนี้ผู้ส่งออกจะต้องรายงานการส่งออกสิ้นค้าดังกล่าวให้กรมวิชาการเกษตร ทราบทุกๆ 30 วัน สำหรับการส่งออกเพื่อเป็นสินค้าตัวอย่าง หรือเพื่อใช้ส่วนตัว หรือการส่งออกโดยมิใช่เพื่อการค้า ซึ่งมีปริมาณไม่เกิน 5 กิโลกรัม สามารถส่งออกไปได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กรมวิชาการเกษตรได้กำหนด ไว้

    บทสรุป
    การ ประกอบการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้แก่ ผู้ปลูกเลี้ยงหรือผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้จำหน่ายปลีก ผู้จำหน่ายส่ง ผู้ส่งออก หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ซื้อ ผู้บริโภคเอง ผู้ประกอบการเหล่านี้ควรจะต้องศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ กล้วยไม้ซึ่งมีอยู่มากมายหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายของต่างประเทศให้เข้าใจชัดเจน และปฏิบัติให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นการกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อตัวของท่าน เอง เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และอาจได้รับโทษทางคดีอาญาด้วย โดยเฉพาะการผลิตกล้วยไม้เชิงธุรกิจ หรือเพื่อการค้า จะมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้เป็นการเบื้องต้นก่อน ทั้งเทคโนโลยีการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การตลาด ประเด็นสำคัญก็คือ กฎ ระเบียบการนำเข้าส่งออก กฎหมายภายใน กฎหมายของประเทศคู่ค้า รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งนับวันจะมีข้อกำหนดต่างๆ ไว้มากมาย
    ในอดีตที่ผ่านมาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรกล้วยไม้ป่าในประเทศไทย มีการนำออกมาใช้ประโยชน์ กันอย่างมากมาย การซื้อและการขายกล้วยไม้ป่าเราไม่ควรสนับสนุน เห็นควรมีการส่งเสริมและการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าโดยนำมา ใช้ประโยชน์แบบยั่งยืน (sustainable use) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรกล้วยไม้ป่าให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติตลอดไป

    แหล่งที่มา : กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้
    โดย : มานิตย์ ใจฉกรรจ์
    หัวหน้าฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญา กองคุ้มครองพันธุ์พืช
    กรมวิชาการเกษตร

    ที่มา  http://www.orchidtropical.com/law_and_wild_orchid.php

    กล้วยไม้ในประเทศไทย

    กล้วยไม้ กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้ดิน

     


    กล้วยไม้ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลำต้นอวบน้ำ จัดอยู่ในจำพวกไม่มีเนื้อเยื่อ กล้วยไม้เป็นไม้ดอกที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดของบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ในธรรมชาติพบกว่า 19,000 ชนิด และยังมีกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากฝีมือมนุษย์อีกเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถประเมินได้ และทุกวันนี้ยังมีกล้วยไม้ชนิดใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีกล้วยไม้ป่า และ กล้วยไม้ดิน ที่พบอยู่ในธรรมชาติอีกเป็นจำนวนมาก

    กล้วยไม้เป็นพืชที่ทนทาน ปลูกเลี้ยงง่าย ดอกมีรูปทรงและสีสันที่สวยงามจึงทำให้กล้วยไม้เป็นต้นไม้ประเภทให้ดอกที่มีคนนิยมปลูกกันมากที่สุด กล้วยไม้มีมากมายหลายชนิด แยกชนิดคร่าวๆ ที่นิยมปลูกและแพร่หลายอยู่ในตลาดได้แก่

    1.  ตระกูล รองเท้านารี ( Paphiopedilum Slipper orchid ) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่นักนิยมกล้วยไม้ เป็นกล้วยไม้ที่ปลูกลงกระถาง มีลักษณะสวยงามทั้งต้นและดอก ดอกบานทนเป็นสัปดาห์ แต่การปลูกเลี้ยงโดยทั่วไปยังมีอุปสรรคเพราะกล้วยไม้ตระกูลนี้ค่อนข้างจะอ่อนแอแต่โรคราในดิน นิยมปลูกใส่กระถางปากกว้างก้นตื้นแบบวางพื้น วัสดุปลูกต้องเหมาะสมและต้องใส่ใจกับการดูแลเป็นอย่างมากถึงจะรอดและให้ดอกสวยงาม

    รองเท้านารี รองเท้านารี รองเท้านารี รองเท้านารี
    รองเท้านารีอินทนนท์ กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้รองเท้านารี
    2.  แคทลียา หรือ คัทลียา ( Cattleya ) เป็นกล้วยไม้ที่นิยมปลูกกันมาก ออกดอกเป็นเดี่ยวและดอกคู่  มีดอกที่มีขนาดใหญ่และมีรูปทรงและสีสันที่สวยงามมาก จนได้รับฉายาว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้ และ สัญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ ใบอวบอ้วนและเป็นปล้อง รากจะเกาะยึดแนบไปกับวัสดุปลูก นิยมปลูกใส่กระถางแบบแขวน แคทลียาส่วนใหญ่ดอกจะมีกลิ่นหอมมาก มีมากมายหลายชนิดส่วนใหญ่เกิดจากกล้วยไม้ลูกผสมโดยฝีมือมนุษย์และยังมีชนิดใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างไม่สิ้นสุด  คลิกอ่านการปลูกกล้วยไม้แคทลียา
    กล้วยไม้แคทลียา กล้วยไม้แคทลียา กล้วยไม้แคทลียา กล้วยไม้แคทลียา
    แคทลียา แคทลียา แคทลียา แคทลียา
    3กล้วยไม้ตระกูลหวาย หรือ เด็นโดเบี้ยม  ( Dendrobium เป็นสกุลที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด นิยมปลูกกันมาก ทั้งปลูกเป็นไม้ดอกประดับและปลูกเป็นอุตสาหกรมกล้วยไม้ตัดดอกเพื่อการส่งออก ที่เห็นๆ ก็คือกล้วยไม้บูชาที่ขายตามร้านดอกไม้กำบูชาพระ ไม้ตระกูลหลายได้รับการพัตนาพันธุ์เกิดสีสันต่างๆ มากมายตามที่ตลาดต้องการ ปลูกง่ายทนทาน ลำต้นเจริญในแนวดิ่ง ลำต้นเป็นกล้อง ใบออกสลับซ้ายขวา เกิดหน่อได้ง่าย ปลูกได้ทั้งบนวัสดุปลูกที่เป็นกาบมะพร้าวที่อัดเป็นแพง หรือวัสดุปลูกที่เป็นดินเถากระถางแตกและถ่าน
    กล้วยไม้สกุลหวาย กล้วยไม้สกุลหวาย กล้วยไม้สกุลหวาย กล้วยไม้สกุลหวาย
    กล้วยไม้หวาย กล้วยไม้หวาย กล้วยไม้หวาย กล้วยไม้หวาย
    4กล้วยไม้ตระกูลเข็ม หรือ แอสโคเซนตัม  ( Ascocentrum )  เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ใบแข็ง ตั้งตรง หรือเอนเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อ แต่ละต้นมักมีหลายชื่อ ดอกเล็กและดก ดอกบานอยู่นาน 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ปลูกเลี้ยงง่าย ทนทาน ตายยาก ขนาดต้นกระทัดรัดไม่ใหญ่เก้งก้างเหมือนแวนด้า ดอกมีสีนสันสดใส ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์เกิดชนิดใหม่ๆ มากมาย นิยมปลูกเป็นไม้กระถางกันมาก ปลูกได้ทั้งกระถางไว้แบบแขวน และกระถางดินเผาแบบแขวน หาง่ายราคาถูก
    กล้วยไม้ตระกูลเข็ม กล้วยไม้ตระกูลเข็ม กล้วยไม้ตระกูลเข็ม กล้วยไม้ตระกูลเข็ม
    กล้วยไม้เข็มแดง เข็มชมพู เข็มม่วง เข็มชมพู
    5. กล้วยไม้ตระกูล สิงโต  ( Bulbophyllum เป็นสกุลที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้ตระกูลหวาย Dendrobium ในเมืองไทยพบในธรรมชาติกว่า 130 ชนิด แต่ละชนิดมักใช้คำว่า สิงโตนำหน้า เป็นกล้วยไม้ที่มีความหลากหลายของช่อดอก มีทั้งดอกช่อ ดอกเดี่ยว รูปทรงของดอกแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป เป็นกล้วยไม้ที่นักนิยมปลูกเลี้ยงเพื่อการสะสม จนได้มีการจัดตั้งกลุ่มชมรมผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สิงโตขึ้นมา การประกวดกล้วยไม้ก็จะมีการแยกประเภทกล้วยไม้สิงโตโดยเฉพาะ

    กล้วยไม้สิงโต

    กล้วยไม้สิงโต

    กล้วยไม้สิงโต

    กล้วยไม้สิงโต

    สิงโตรวงข้าว

    ที่มา   http://www.tourdoi.com/flower/orchid.html

    กล้วยไม้สกุลต่างๆ

    กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี-PAPHIOPEDILUM

    กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี Paphiopedilum

    กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

    กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง

    รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤกษาศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้

    โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่

    รองเท้านารีอินทนนท์

    รองเท้านารีอินทนนท์

    Paphiopedilum villosum

    เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ.2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว

    รองเท้านารีเหลืองปราจีน

    Paphiopedilum concolor

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2–3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่

    รองเท้านารีเหลืองปราจีน
    รองเท้านารีเมืองกาญจน์

    รองเท้านารีเมืองกาญจน์

    Paphiopedilum parishii

    ค้นพบเมื่อ พ.ศ.2402 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดกาญจนบุรีและกำแพงเพชร เป็นกล้วยไม้อากาศเกาะอยู่ตามต้นไม้มีลักษณะเด่น คือ มีกลีบในคู่บิดเป็นเกลียวเป็นสายยาวกว่ากลีบนอกประมาณสามเท่าตัว

    รองเท้านารีเหลืองตรัง

    Paphiopedilum godefroyae

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัดชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย

    รองเท้านารีเหลืองตรัง
    รองเท้านารีอ่างทอง

    รองเท้านารีอ่างทอง

    Paphiopedilum angthong

    ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา

    รองเท้านารีสุขะกุล

    Paphiopedilum sukhakulii

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก

    รองเท้านารีสุขะกุล
    รองเท้านารีเหลืองกระบี่

    รองเท้านารีเหลืองกระบี่

    Paphiopedilum exul

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัดชุมพร ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้นกลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรงปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุดสีม่วง กลีบในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลืองเป็นมัน

    รองเท้านารีเหลืองพังงา

    Paphiopedilum leucochilum

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล

    รองเท้านารีเหลืองพังงา
    รองเท้านารีคางกบ

    รองเท้านารีคางกบ

    Paphiopedilum callosum

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2428 ถิ่นกำเนิดอยู่ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และบริเวณอ่าวไทยตามเกาะต่างๆ ลักษณะเด่น คือ คล้ายรองเท้านารีฝาหอย แต่แตกต่างตรงที่ปลายกลีบนอกบนของรองเท้านารีคางกบเรียวยาวแหลมกว่า ริมกลีบในเป็นคลื่นหรือพับม้วน กระเปาะมีเม็ดสีดำติดอยู่

    รองเท้านารีฝาหอย

    Paphiopedilum bellatulum

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2431 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหุบเขาในเขตพม่าต่อชายแดนไทยตอนเหนือแถบจังหวัดลำพูน และเขตอำเภอเชียงดาว ภาคใต้ เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะช้างในจังหวัดพังงา เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ใบใหญ่ปลายมน ใบลายสีเขียวแก่และเขียวอ่อนใต้ท้องใบสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นมีขน กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบดอกสีขาวนวล ประจุดสีม่วงจากโคนกลีบ กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่เรียกว่า “Plover Orchid”)

    รองเท้านารีฝาหอย
    รองเท้านารีขาวสตูล

    รองเท้านารีขาวสตูล

    Paphiopedilum niveum

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2411 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามเกาะแถบภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ ใบมีลายสีเขียวคล้ำ ปลายมนพอสมควร ใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกแข็งยาวเรียวมีทั้งสีม่วงและเขียวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กปลายกลีบบานคุ้มมาข้างหน้า ดอกสีขาวเป็นมัน กลีบในประจุดสีม่วง กระเปาะรูปกลมเหมือนไข่สีเดียวกับกลีบคือ ขาว

    รองเท้านารีเหลืองเลย

    Paphiopedilum esquirolei

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2455 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบภูเขาในภาคอีสาน เช่น เลย เพชรบูรณ์ เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ใบยาว กลีบดอกด้านบนสีแดงเข้มออกน้ำตาล ขอบกลีบสีเหลืองอมเขียว ปลายกลีบบีบเข้า กลีบในเป็นสีขมพูแดง กระเปาะสีคล้ายกลีบดอก

    รองเท้านารีเชียงดาว

    Paphiopedilum dianthum

    ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2483 ถิ่นกำเนิดอยู่บนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีเมืองกาญจน์ แต่กระเปาะของรองเท้านารีเชียงดาวกว้างกว่า กลีบนอกบนสีเขียว มีเส้นเขียว

    รองเท้านารีม่วงสงขลา

    Paphiopedilum barbatum

    ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า

    รองเท้านารีม่วงสงขลา
    กล้วยไม้ รองเท้านารี

     

    กล้วยไม้สกุลแคทลียา-CATTLEYA

    กล้วยไม้สกุลแคทลียา Cattleya

    แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เนื่องจากแคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดและสีสวยงามที่สุด บางชนิดมีกลิ่นหอม และถือกันว่าแคทลียาเป็น ราชินีแห่งกล้วยไม้ และเป็นสัญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ทั่วไป

    แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือ เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากแขนง เป็นระบบรากกึ่งอากาศดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย มีหลายลักษณะ บางชนิดลำลูกกล้วยเป็นข้อปล้อง รูปทรงของลำป่องตรงกลางหรือค่อนไปข้างบนของลำเล็กน้อย มีหน้าที่เก็บสะสมอาหาร เหนือข้อที่โคนลำจะมีตา 2 ตา คือตาซ้าย และตาขวา เป็นตาแตกลำใหม่ง่ายที่สุด บางชนิดที่ลำลูกกล้วยอ้วนป้อม บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรือบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ผิวพื้นของลำอาจเกลี้ยงหรือเป็นร่องตามความยาวของลำ เมื่อกล้วยไม้เจริญเติบโต ลำที่ 1 หรือเรียกว่าลำหลัง จะแตกตาออกแล้วเจริญเป็นลำที่ 2 หรือเรียกว่าลำหน้า เมื่อลำที่ 2 เจริญดีแล้วก็จะแตกตาออกเป็นลำที่ 3 และที่ 4 ออกไปเรื่อยๆ บางครั้งตาแตกออกเป็น 2 ทางเรียกว่า ไม้ 2 หน้า จึงทำให้ดูเป็นกอใหญ่ โดยมีเหง้าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงของลำลูกกล้วยลำต่อลำ และเป็นส่วนของลำที่เจริญออกจากลำเดิม

    แคทลียา แคทลียา

    แคทลียามีใบเกิดที่ส่วนปลายลำลูกกล้วยเท่านั้น ในลำใหม่ที่กำลังเจริญใบส่วนมากแบน แต่บางชนิดใบกลมรูปทรงกระบอก ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ รูปลักษณะค่อนข้างหนาแข็ง แต่ไม่เปราะ ลำลูกกล้วยลำหนึ่งอาจจะมีใบเพียงใบเดียวหรือสองใบก็ได้ ลักษณะของใบใช้ในการแบ่งประเภทของกล้วยไม้สกุลแคทลียา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    • ประเภทใบเดี่ยว เป็นแคทลียาประเภทที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบเพียงใบเดียวเท่านั้น แคทลียาประเภทนี้มักออกดอกน้อย ช่อหนึ่งอาจมีเพียง 1 หรือ 2 ดอกเท่านั้น ลักษณะดอกใหญ่ ช่อดอกสั้น
    • ประเภทใบคู่ เป็นแคทลียาประเภทที่ลำลูกกล้วยมี 2 ใบ อาจจะมีใบถึง 3 ใบก็ได้ แคทลียาประเภทนี้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ดอกเล็กช่อยาว
    แคทลียา แคทลียา

    แคทลียาออกดอกที่ปลายลำลูกกล้วย เมื่อออกดอกจะออกลำหน้าซึ่งเมื่อมีลำหน้าหลายลำเวลาออกดอกจะออกดอกทีละมากๆ บางครั้งอาจมีถึง 10 ช่อ การออกดอกในแต่ละช่อ ช่อดอกหนึ่งๆ อาจมีดอกเพียง 1 ดอก, 2 ดอก, 3 ดอก หรือบางชนิดอาจมีถึง 10 ดอกก็ได้ ลักษณะของกลีบดอกมีกลีบนอก 3 กลีบ อยู่ข้างบน 1 กลีบ ข้างล่าง 2 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน กลีบในมี 3 กลีบ กลีบใน 2 กลีบบนมีรูปร่างเหมือนกัน โดยปกติมีขนาดใหญ่กว่ากลีบนอก กลีบในที่ 3 อยู่ที่ตอนล่างมีรูปร่างไม่เหมือนกับกลีบในบน กลีบจะม้วนทั้ง 2 ข้างเรียกว่า ปาก หรือ กระเป๋า ปากมีหูกว้าง ริมปากหยักเป็นคลื่นและมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นๆ ภายในปากมีเส้นเกสรค่อนข้างยาวและโค้งเล็กน้อยยื่นออกมา แคทลียามีเกสรตัวผู้อยู่ตอนปลายเส้าเกสรเป็นคู่มี 2 คู่ เกสรตัวเมียอยู่ตอนล่าง เส้าเกสรนี้เป็นที่รวมของอวัยวะตัวเมียซึ่งมีรังไข่อยู่ติดกับเส้าเกสรด้านล่างเห็นเป็นลักษณะคอดเล็กยาวชัดเจนเมื่อติดฝัก ซึ่งฝักนี้จะมีเมล็ดเป็นผงเล็กมากอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก เมื่อแก่จัดฝักก็จะแตกและเมล็ดจะแพร่กระจายปลิวไปตกยังที่ต่างๆ เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเจริญเป็นต้นใหม่และขยายพันธุ์ต่อไปตามวงจรชีวิตธรรมชาติ

    แคทลียา แคทลียา

    แคทลียาลูกผสม เป็นกล้วยไม้ที่เกิดจากการผสมข้ามสกุลระหว่างกล้วยไม้สกุลแคทลียากับกล้วยไม้สกุลใกล้เคียงอื่นๆ เช่น

    • กล้วยไม้สกุลลีเลีย (Laelia)
    • กล้วยไม้สกุลบรัสซาโวลา (Brassavola)
    • กล้วยไม้สกุลโซโฟไนตีส (Sophronitis)
    • กล้วยไม้สกุลเอพิเดนดรัม (Epidendrum)
    • กล้วยไม้สกุลชอมบูเกีย (Schomburgkia)

    แคทลียาลูกผสม 2 สกุล

    เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้สกุลแคทลียาแท้ผสมกับกล้วยไม้สกุลต่างๆ เกิดเป็นแคทลียาลูกผสม 2 สกุล เช่น

    • ลีลิโอแคทลียา (Laeliocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับลีเลีย
    • บรัสโซแคทลียา (Brassocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับบรัสซาโวลา
    • โซโฟรแคทลียา (Sophrocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับโซโฟรไนตีส
    • เอพิแคทลียา (Epicattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับเอพิเดนดรัม
    • ชอมบูแคทลียา (Schombocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากสกุลแคทลียาผสมข้ามสกุลกับชอมบูเกีย
    แคทลียา แคทลียา

    แคทลียาลูกผสม 3 สกุล

    เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้แคทลียาลูกผสมที่ผสมแล้ว 2 สกุลผสมข้ามกับอีกสกุลหนึ่ง เกิดเป็นแคทลียาลูกผสม 3 สกุล เช่น

    • บรัสโซลีลิโอแคทลียา (Brassolaeliocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลลีเลีย (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลบรัสซาโวลาผสมกับสกุลลีเลีย)
    • เอพิลีลิโอแคทลียา (Epilaeliocattleya) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้ลีลิโอแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลเอพิเดนดรัม (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลลีเลียผสมกับสกุลเอพิเดนดรัม)
    • เอพิคาโทเนีย (Epicatonia) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้เอพิแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลสกุลบรัสซาโวลา (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลเอพิเดนดรัมผสมกับสกุลบรัสซาโวลา)
    • ดีเคนสารา (Dekensara) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซแคทลียาผสมกับกล้วยไม้สกุลชอมบูเกีย (สกุลแคทลียาผสมกับสกุลบรัสซาโวลาผสมกับสกุลชอมบูเกีย)

    แคทลียาลูกผสม 4 สกุล

    เป็นกล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดจากกล้วยไม้แคทลียาลูกผสมที่ผสมแล้ว 3 สกุลกับอีกสกุลหนึ่งเกิดเป็นแคทลียาลูกผสม 4 สกุล เช่น

    • ยามาดารา (Yamadara) เป็นลูกผสมกล้วยไม้ที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซเลลิโอแคทลียาผสมข้ามกับสกุลเอพิเดนดรัม
    • โพตินารา (Potinara) เป็นลูกผสมกล้วยไม้ที่เกิดจากกล้วยไม้บรัสโซเลลิโอแคทลียาผสมข้ามกับสกุลโซโฟรไนตีส
    กล้วยไม้สกุลแวนด้า-VANDA

    กล้วยไม้สกุลแวนด้า Vanda

    แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด

    กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ

    • แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
    • แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก
    • แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน
    • แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น

    ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย

    เอื้องโมกข์

    Vanda teres

    เป็นกล้วยไม้ป่าพื้นเมืองของไทย พบเกาะอาศัยเลื้อยอยู่ตามต้นไม้สูง มีลำต้นกลมขนาดเท่าดินสอ จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ใบกลมยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว มีดอกน้อย กลีบนอกสีขาวหรือชมพูม่วง กลีบในใหญ่กว่ากลีบนอก มีรูปเกือบเป็นวงกลม ขอบหยิกเป็นคลื่น ปากมีสามแฉกสีเหลืองมีสีแดงด้านในหูปากม้วนหุ้มเส้าเกสร ปลายปากสีม่วงชมพูเหลือง ขนาดของดอกแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 7–10 เซนติเมตร

    แวนด้าฮุกเคอเรียน่า

    Vanda hookerriana

    เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทย จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ลักษณะลำต้นกลม ใบกลมคล้ายแวนด้าเอื้องโมกข์ แต่ใบเล็กแหลมปลายตัดขนาดลำต้นสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ช่อดอกออกใกล้ยอด ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ออกดอกตั้งแต่ 3–5 ดอกต่อช่อ กลีบนอกบนสีขาวอมม่วงเป็นรูปไข่กลับ กลีบดอกคู่ล่างสีขาวล้วน กลีบในรูปไข่ขอบหยักสีขาวเหลือบม่วงประจุดสีม่วงแก่ ปาก 3 แฉกสีม่วงมีเส้นสีอ่อน เส้าเกสรกลมสีม่วง ดอกใหญ่ขนาดประมาณ 7 เซนติเมตร

    ฟ้ามุ่ย

    Vanda coerulea

    เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบนที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือของไทย ลักษณะของใบค่อนข้างกว้างกว่าใบของแวนด้าชนิดอื่น ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งตรงยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร ออกดอก 5–15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนจึงถึงฟ้าแก่ มีลายเป็นตารางสีฟ้าแก่กว่าสีพื้น ปากเล็กหูปากแคบโค้ง ปลายมนที่ปลายมี 2 ติ่ง เส้าเกสรเบื้องบนสีขาว ขนาดดอกใหญ่ประมาณ 7–10 เซนติเมตร ดอกขนาดใหญ่และบานทนนาน ออกดอกเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

    ฟ้ามุ่ย

    เอื้องสามปอยขาว

    Vanda denisoniana

    เอื้องสามปอยขาวเป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนแบบฟ้ามุ่ย แต่ใบบางและยาวกว่า ก้านช่อยาว ดอกมีสีขาว ปากใหญ่สีขาว ในปากเป็นสีเหลือง กลีบดอกนอกและกลีบในมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน

    เอื้องสามปอยชมพู

    Vanda bensoni

    เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งและยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมี 13–15 ดอก ดอกสีน้ำตาล มีลายสมุกคล้ายฟ้ามุ่ย กลีบดอกหนาขอบกลีบเป็นคลื่น ด้านหลังกลีบและกระเป๋าเป็นสีชมพู ดอกห่าง รูปดอกโปร่ง ขนาด 4.4 เซนติเมตร

    เอื้องสามปอยขุนตาล

    Vanda denisoniana

    เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่อดอกออกด้านข้างไม่ตั้งตรง ช่อดอกสั้น มีดอกประมาณ 5–7 ดอกต่อช่อ รูปดอกโปร่ง กลีบดอกหนาแข็ง ไม่ค่อยซ้อน ดอกมีสีเหลือง บางต้นสีเหลืองเข้ม บางชนิดมีประจุดสีน้ำตาลอยู่ที่โคนกลีบ กลีบหนาแข็งคล้ายดอกไม้เทียน ดอกขนาด 6-7 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน

    เอื้องสามปอยขุนตาล

    เอื้องสามปอยหลวง

    Vanda benbonii

    เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายกับสามปอยชมพู มีใบกว้างและยาวกว่าเล็กน้อย ดอกช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก ดอกมีกลีบนอกและกลีบในมีสีขาวอมเหลืองกลีบดอกห่าง หูปากทั้งสองข้างสีขาวแผ่นปากสีเขียวเหลือบเหลือง ปากเว้าเดือยสั้น รูปดอกใหญ่ขนาดดอกโตประมาณ 7 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

    เอื้องสามปอยหลวง

    เข็มขาว

    Vanda lilacina

    เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน

    เข็มขาว

    แวนด้าไตรคัลเลอร์

    Vanda tricolor

    เป็นกล้วยไม้แวนด้าพื้นเมืองของชวา ใบมีลักษณะยาวเป็นคลื่นกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 5–10 ดอกต่อช่อ กลีบนอกและกลีบในสีเหลืองอมขาว มีจุดสีน้ำตาลอมแดง ปากเป็นแฉก หูปากเล็กแผ่นปากสีม่วง

    แวนด้าแซนเดอเรียน่า

    Vanda sanderiana

    เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศฟิลิปปินส์ จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน หน้าตัดของใบเป็นรูปตัววี (V) ปลายใบเป็นฟันแหลมๆ ไม่เท่ากัน ใบเรียงซ้อนค่อนข้างถี่มีลักษณะเป็นแผง ช่อดอกตั้งแข็งตั้งยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5–15 ดอก ดอกเรียงรอบช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเป็นพุ่มสวยงาม ดอกมีกลีบนอกคู่ล่างใหญ่ มีสีแตกต่างจากกลีบนอกบนและกลีบในทั้งคู่สีคล้ายครึ่งล่างและครึ่งบน ครึ่งบนเป็นสีชมพูม่วงอ่อน ครึ่งล่างเป็นน้ำตาลไหม้อยู่บนพื้นสีเขียว เป็นลายตาสมุก ปากยาวประมาณ 3 เซนติเมตร กระเป๋าและคอปากสีเหลืองอมเขียว และมีเส้นสีแดงบางๆ แผ่นปากมีสีน้ำตาลไหม้ รูปดอกใหญ่ ขนาดดอกโตประมาณ 8–12 เซนติเมตร

    แวนด้าเดียรีอิ

    Vanda dearei

    เป็นกล้ายไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบอเนียว จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม แวนด้าชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ที่ให้ลูกผสมไปทางสีเหลือง โดยใช้ผสมพันธุ์ควบคู่กับแวนด้าแซนเดอเรียน่า

    แวนด้าอินซิกนิส

    Vanda insignis

    เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของเกาะโมลูกัส จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน ใบยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ช่อดอกไม่ยาว มีดอกประมาณ 4–7 ดอก มีกลีบนอกและกลีบในห่างสีเหลืองอมเขียว มีจุดสีช๊อกโกแลต หูปากเล็กสีขาว แผ่นปากกว้างสีม่วงกุหลาบขนาดโตประมาณ 6 เซนติเมตร

    แวนด้าลูกผสม V. Dr. Anek
    แวนด้าลูกผสม V. Dr. Anek
    แวนด้าลูกผสม V. Gordon Dillon
    แวนด้าลูกผสม V. Gordon Dillon
    กล้วยไม้สกุลหวาย-DENDROBIUM กล้วยไม้สกุลหวาย-DENDROBIUM

    กล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium

    กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์

    กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ

    กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น

    เอื้องผึ้ง

    เอื้องผึ้ง

    Den. aggregatum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยป้อมสั้นและเบียดกันแน่น ลักษณะใบแข็งหนาสีเขียวจัด ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ก้านช่อดอกอ่อนโค้งลงมา ช่อหนึ่งมีมากกว่า 20 ดอก พื้นดอกสีเหลืองอ่อน ปากสีเหลืองเข้ม ขนาดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้

    เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน

    เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน

    Den. thyrsiflorum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างกลมหรือแบนโคนเล็กและใหญ่ด้านบน สีเขียว ลำลูกกล้วยลำหนึ่งๆ มีใบประมาณ 3–4 ใบ ลักษณะใบแหลมยาวประมาณ 10–18 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกห้อยเป็นพวงยาว ดอกแน่น กลีบดอกสีขาวกางผายออก โคนกลีบปากกระดกม้วนขึ้น ปลายแหลม ม้วนขึ้นสีเหลือง ภายในมีขนแต่ริมสันปากไม่มีขน ขนาดดอกโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร บานพร้อมกันทั้งช่อและบานนานประมาณ 1 สัปดาห์ ออกดอกเดือนมกราคมถึงเมษายน พบมากตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    เหลืองจันทบูร

    เหลืองจันทบูร

    Den. friedericksianum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร

    พวงหยก, หวายปม

    พวงหยก, หวายปม

    Den. findlayanum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยสีเขียวเหลือง ยาวประมาณ 30–70 เซนติเมตร และโป่งเป็นข้อๆ ลักษณะใบยาวรี เมื่อลำแก่จะทิ้งใบ ออกดอกตามข้อๆ ละประมาณ 2-4 ดอก กลีบดอกสีม่วงอ่อนโคนกลีบสีขาว ปากสีเหลืองเข้ม ขอบปลายปากเป็นรูปหัวใจ ขนาดดอกโตประมาณ 4–6 เซนติเมตร ช่วงออกดอกมักผลัดใบเกือบทั้งหมด ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม พบที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำปาง

    เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย

    เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย

    Den. pulchellum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้นสีม่วงลักษณะใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร เมื่อลำแก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือดหมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไข่ ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้

    เอื้องมัจฉาณุ

    เอื้องมัจฉาณุ

    Den. farmeri

    เป็นกล้วยไม้ที่ลำลูกกล้วยลักษณะเป็นพู ตอนบนใหญ่ตอนล่างเล็กรูปสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ลำลูกกล้วยแต่ละลำมีใบ 3–4 ใบ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ดอกเป็นช่อห้อยยาวประมาณ 15–25 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมีหลายดอก ก้านช่อดอกยาว ดอกหลวม ทั้งกลีบดอกนอกและในมีสีม่วง ชมพู หรือขาว ปากสีเหลืองมีขนเป็นกำมะหยี่ ขนาดดอกโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้

    เอื้องเงินหลวง

    เอื้องเงินหลวง

    Den. formosum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ 30–50 เซนติเมตร ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคนออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้

    เอื้องเงิน

    เอื้องเงิน

    Den. draconis

    มีลักษณะลำต้นคล้ายกับเอื้องเงินหลวง แต่จะมีลำและใบสั้นกว่าก้านช่อสั้น มีดอกประมาณ 2-5 ดอก ดอกขนาด 8-9 เซนติเมตร กลีบขาว ปากสีส้มอมแดง ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

    เอื้องเงินแดง

    เอื้องเงินแดง

    Den. cariniferum

    ลักษณะลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยทรงกระบอก ผิงมักเป็นร่อง ใบรูปขอบขนาน ปลายเบี้ยว ออกดอกเป็นช่อ 2-5 ดอก ดอกกว้าง 3-4 ซม. กลีบดอกสีขาวครีม ปลายสีเหลือง โคนของกลีบปากสีส้มเข้มถึงส้มแดง กระดกห่อขึ้น ปลายแผ่เป็นแผ่นค่อนข้างยาว ขอบหยักเป็นคลื่น สีเหลืองอมส้มถึงขาว กลางกลีบเป็นสันนูน มีเส้นสีส้มเป็นริ้วตามความยาวกลีบเป็นระยะ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พบมากทางภาคเหนือ

    เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์

    เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์

    Den. crumenatum

    ออกดอกเป็นช่อ 1-2 ดอก ตามข้อต้นในส่วนที่ไม่มีใบของปลายลูกกล้วย กลีบดอกสีขาว กางผายออก โคนกลีบปากเชื่อมติดกัน หูกลีบปากกระดกขึ้นทั้งสองข้าง ปลายผายออก มีสีเหลืองที่กลางกลีบปาก ดอกขนาด 2-3 เซนติเมตร ดอกบานเพียงวันเดียว มีกลิ่นหอมฉุน ช่วงออกดอกไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะออกดอกช่วงที่มีอากาศร้อนแล้วมีฝนตก หรือในช่วงฤดูฝน พบตามป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก

    เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง

    เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง

    Den. primulinum

    เป็นกล้วยไม้ที่ลำลูกกล้วยกลมเกือบเท่ากันทั้งลำ รูปทรงตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 30–45 เซนติเมตร ใบเล็กลงไปทางยอด ใบตัดเฉียงๆ ตามยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อใบแก่จะทิ้งใบ ออกดอกตามข้อที่ทิ้งใบแล้ว ออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ดอกเป็นช่อๆ ละ 1–2 ดอก ตามข้อของลำลูกกล้วย ลักษณะกลีบดอกนอกและในยาวรีเท่ากัน สีม่วงอ่อน ปากรูปกรวยเป็นวงกลมสีเหลืองมะนาว ขนาดดอกโตประมาณ 5–7 เซนติเมตร พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันตก และภาคใต้

    เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง

    เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง

    Den. tortile

    ลำต้นเจริญทางด้านข้าง โคนลำลูกกล้วยคอด ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามข้อ 3-6 ดอกต่อข้อ ดอกกว้าง 5-7 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง มักบิดเป็นคลื่น มีเส้นสีม่วงตามความยาวกลีบ โคนกลีบปากม้วนขึ้นเป็นกลีบยาว โคนสีม่วง ปลายผายออก สีเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

    เอื้องแปรงสีฟัน

    เอื้องแปรงสีฟัน

    Den. secundum

    ใบรูปขอบขนานแกมรูปแถบ ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อยาว ดอกจำนวนมาก กลีบงุ้มเข้าหากัน สีม่วงอมชมพู กลีบปากเป็นทรงกระบอก ปลายกลีบปากสีเหลือง ดอกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ช่วงออกดอกมักผลัดใบ พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

    เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย

    เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย

    Den. anosmum

    ลำลูกกล้วยห้อยลงเป็นสายยาว ใบรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลม ดอกเดี่ยวออกตามข้อ ดอกกว้าง 4-5 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน กลีบปากรูปทรงกลมปลายแหลม โคนกลีบปากม้วนเข้าหากันและมีแต้มสีม่วงเข้มทั้งสองด้าน ผิวกลีบด้านในมีขนปกคลุม ผิวด้านนอกมีขนเฉพาะขอบกลีบ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ช่วงออกดอกมักผลัดใบ พบทางภาคใต้

    เอื้องครั่ง

    เอื้องครั่ง

    Den. parishii

    ลำลูกกล้วยรูปรี ค่อนข้างอวบ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ออกดอกที่ข้อ 1-3 ดอก ดอกกว้าง 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง โคนกลีบดอกกระดกห่อขึ้น ปลายกลีบแหลมมีขนสั้นๆ ปกคลุม กลางกลีบสีม่วง ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พบทางภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันตก

    เอื้องคำ

    เอื้องคำ

    Den. chrysotoxum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยรูปทรงหลายเหลี่ยมโดยจะมีตอนกลางลำโป่ง แล้วเรียวลงมาโคนและยอด ความยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะมีสีค่อนข้างเหลืองตอนบนของลำจะมีใบอยู่ 4–5 ใบ ยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ 12-25 ดอก แต่ละช่อดอกจะห่างไม่อัดแน่น ดอกมีสีส้มสด กลีบปากสีส้มมีขนาดใหญ่ โคนกระดกห่อขึ้น ปลายบานเป็นทรงกลม มีขนนุ่มปกคลุม ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น ขนาดดอกประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันตก

    แววมยุรา

    แววมยุรา

    Den. fimbriatum

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยยาวกว่า 60 เซนติเมตร มีผิวเป็นร่องตื้นๆ ใบรูปหอกยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมี 7–15 ดอก กลีบนอกยาวรี กลีบในเป็นรูปไข่สีเหลือง กลีบปากเกือบกลมมีสีเข้มกว่ากลีบดอก ผิวมีขนนุ่มละเอียดปกคลุม ขอบกลีบหยัก กลางกลีบมีแต้มสีม่วงเข้มเกือบดำ ดอกกว้าง 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบทางภาคเหนือ

     

     

     

     

    กล้วยไม้สกุลเข็ม-ASCOCENTRUM

    กล้วยไม้สกุลเข็ม Ascocentrum

    กล้วยไม้สกุลเข็มได้สมญาว่าเป็น “ราชินีของกล้วยไม้แวนด้าแบบมินิหรือแบบกระเป๋า” เพราะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเล็กทั้งขนาดต้น ช่อดอก ขนาดดอก และมีดอกที่มีสีสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้อื่นๆ ในธรรมชาติพบกล้วยไม้สกุลนี้กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลงไปถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น ใบเรียงแบบซ้อนทับกัน รากเป็นระบบรากอากาศ ออกดอกตามข้อของลำต้นระหว่างใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้าที่มีดอกขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลเข็มแท้อยู่ 4 ชนิดคือ เข็มแสด เข็มแดง เข็มม่วง และเข็มหนู แต่ที่มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ คือ เข็มแดง เข็มแสด และเข็มม่วง

    เข็มแดง

    เข็มแดง

    Ascocentrum curvifolium

    พบกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย มาทางประเทศพม่า จนถึงประเทศไทย แถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และ กาญจนบุรี ที่ระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใบมีสีเขียวอ่อน ค่อนข้างอวบน้ำ ใบแคบ โค้ง เรียว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในฤดูแล้งขอบใบจะปรากฏจุดสีม่วงประปรายและจะหนาแน่ขึ้นเมื่อแล้งเพิ่มมากขึ้น ดอกสีแดงอมส้ม ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกแน่นช่อ บานทนนับเป็นสัปดาห์ ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

    เข็มแสด

    เข็มแสด

    Ascocentrum miniatum

    พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย เข็มแสดมีลำต้นไม่สูงนัก ใบเรียงซ้อนกันแน่น ใบอวบหนา ปลายใบเป็นฟันแหลม และโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวแก่ และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อย เมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบหนา ผิวกลีบเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองส้ม ขนาดดอกโตประมาณ 1–1.5 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นช่อ ช่อหนึ่งอาจมีมากกว่า 50 ดอก ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

    เข็มม่วง

    เข็มม่วง

    Ascocentrum ampullaceum

    พบตามธรรมชาติในประเทศไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และต่ำลงไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี ที่ระดับความสูงกว่าเข็มแดง เข็มม่วงมีลำต้นตั้งแข็ง ใบแบนกว้าง ปลายตัดและมีฟันแหลมๆ ไม่เท่ากันทลายฟัน ใบยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบสีเขียวคล้ำ ในฤดูแล้งใบจะมีจุดสีม่วงเล็กน้อย ดอกสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นเป็นสีเดียวกับดอก เดือยดอกยาวดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งตรงรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกแน่น ช่อหนึ่งมีประมาณ 30 ดอก มักออกดอกบริเวณส่วนล่างของลำต้น ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ดอกบานทนประมาณ 2 สัปดาห์

    เข็มหนู

    Ascocentrum semiteretifolium

    เป็นกล้วยไม้ที่มีใบเป็นแบบใบกลม มีร่องลึกทางด้านบนของใบ ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีดอกสีม่วงอ่อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ระดับความสูง 1,800-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างหายาก ลักษณะของต้นและดอกไม่เป็นที่นิยมของนักปลูกเลี้ยง

    กล้วยไม้สกุลเข็มเป็นกล้วยไม้ที่ดอกมีสีสันสดใส มีช่อดอกแข็งชูตั้งขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นเป็นระเบียบ สามารถให้ดอกพร้อมกันได้หลายช่อ ปลูกเลี้ยงง่าย จึงนิยมนำกล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมแอสโคเซ็นด้า (Ascocenda) ซึ่งจะทำให้ได้กล้วยไม้ที่มีสวยงามขึ้น ออกดอกดกขึ้น ดอกบานทนและปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น

    ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับแรก

    หมายถึงแอสโคเซ็นด้าที่เกิดจากการผสมระหว่างแวนด้ากับเข็มโดยตรง เป็นแอสโคเซ็นด้าที่มีสายพันธุ์แวนด้าและเข็มอย่างละครึ่ง แอสโคเซ็นด้าระดับแรกมีคุณสมบัติเด่นอยู่หลายประการ เช่น สีของดอกที่สดใสสวยสะดุดตา สำหรับรายละเอียดต่างๆ เช่นจุดประ หรือแต้มสีต่าง ที่ปรากฏบนดอกแวนด้าจะเลือนลางหรือเหลือเพียงจุดละเอียดประปรายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดของดอกจัดอยู่ในประเภทดอกขนาดกลาง (intermediate type) ช่อดอกรูปทรงกระบอกตั้ง มีจำนวนดอกภายในช่อมากกว่าแวนด้า แอสโคเซ็นด้าระดับนี้จะมีนิสัยเลี้ยงง่าย โตเร็ว และให้ดอกตลอดทั้งปีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เช่น

    • แอสโคเซ็นด้า คาธี เออนี่ (Ascoda Kathy Arne) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า เจเนท ฟูกูโดะ (V. Janet Fukudo) กับ เข็มแดง (Asctum currvifolium)
    • แอสโคเซ็นด้า เมม จิม วิลกินส์ (Ascoda Mem Jim Wilkins) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า เจนนี่ ฮาชโมโตะ (V. Jennie Hashimoto) กับ เข็มแดง (Asctum curvifolium)
    • แอสโคเซ็นด้า ฟลอริด้า ซันเซต (Ascoda Florida Sunset) เป็นลูกผสมระหว่างแวนด้า เจฟฟรีย์ (V.Feffrey) กับ เข็มแดง (Asctum curvifolium)
    • แอสโคเซ็นด้า ครายเซ่ เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้าลาเม็ลเลต้า กับ เข็มแสด
    • แอสโคเซ็นด้า สาคริก เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้าเซนเดอร์เรียน่า กับ เข็มแสด
    • แอสโคเซ็นด้า เบบี้ บลู (Ascda Baby Blue) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า เซอรูเลสเซ็นส์ หรือ ฟ้ามุ่ยน้อย (V. coerulescens) กับเข็มม่วง

    ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสอง

    หมายถึงลูกผสมเอสโคเซ็นด้าที่เกิดจากการใช้แอสโคเซ็นด้าระดับแรกที่ปลูกเลี้ยงจนออกดอกแล้วมาผสมกลับไปหาแวนด้าใบแบนหรือเข็มอีกที ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองที่เกิดจากการผสมกลับไปหาแวนด้าพบว่า มีขนาดต้นโตขึ้น ขนาดดอกใหญ่ขึ้น บางต้นมีขนาดดอกเท่าแวนด้า ส่วนลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองที่เกิดจากการผสมกลับไปหาเข็มพบว่า ต้นมีขนาดและรูปทรงเล็กลง ทั้งขนาดดอกก็เล็กลงกว่าแอสโคเซ็นด้าระดับแรก แต่สีดอกจะดูสดใสสะดุดตาขึ้น สำหรับลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองมีดังนี้

    • แอสโคเซ็นด้า มีด้าแซนด์ (Ascda. Medasand) เป็นลูกผสมระหว่างแอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Meda Anold) กับ แวนด้า แซนเดอร์เรียน่า (V. Sanderiana)
    • แอสโคเซ็นด้า จิ้ม ลิ้ม (Ascda. Jim Lim) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Meda Arnold) กับ แวนด้า เบนโซนิอิ (V. bensonii)
    • แอสโคเซ็นด้า บีวิทเชด (Ascda. Bewitched) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Meda Arnold) กับ แวนด้า บิล ซัตตัน (V. Bill Sutton)
    • แอสโคเซ็นด้า ซาราวัค (Ascda. Sarawak) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า มีด้า อาร์โนลด์ (Ascda. Arnold) กับ แวนด้าบอร์เนียว(V. Borneo)
    • แอสโคเซ็นด้า ลิเลียน ยูริโกะ นิวิอิ (Ascda. Lilian Yuriko Nivei) เป็นลูกผสมระหว่างแอสโคเซ็นด้า โอฟิเลีย (Ascda. Ophelia) กับ แวนด้าบอสชิอิ (V. Boschii)
    • แอสโคเซ็นด้า แยบ กิม ไฮ (Ascda. Yap Kim Hei) เป็นลูกผสมระหว่าง แอสโคเซ็นด้า โอฟิเลีย (Ascda. Ophelia) กับ แวนด้า เซอรูเลีย หรือ ฟ้ามุ่ย (V. coerulea)
    กล้วยไม้สกุลช้าง-RHYNCHOSTYLIS

    กล้วยไม้สกุลช้าง Rhynchostylis

    จากการสำรวจพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างที่มีอยู่ในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาคอาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้างที่พบตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิปปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์

    กล้วยไม้สกุลช้างมีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว มีลักษณะแตกต่างไปจากกล้วยไม้สกุลอื่นๆ คือ มีลำต้นสั้น แข็งแรง ใบแข็ง หนาค่อนข้างยาว อวบน้ำ เรียงชิดกันอยู่บนลำต้น ใบเป็นร่อง หน้าตัดของใบรูปตัววี สันล่างของใบเห็นได้ชัด ใบอาจมีเส้นใบเป็นเส้นขนานสีจางๆ หลายๆ เส้นตามความยาวของใบ ปลายใบหยักมนหรือเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน รากเป็นระบบรากอากาศ มีขนาดใหญ่ แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียวซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ช่อดอกอาจห้อยลงหรือตั้งขึ้น ความยาวของช่อดอกเกือบเท่าๆ กับความยาวของใบ ดอกมีเป็นจำนวนมากแน่นช่อดอก กลีบนอกและกลีบในของดอกแผ่ออก อาจมีจุดหรือไม่มีจุดสีม่วงหรือสีน้ำเงินก็ได้ ขนาดของกลีบนอกโตกว่ากลีบใน เส้าเกสรสั้น ปากไม่มีข้อพับ ปลายปากไม่หยัก หรือหยักเป็นลอนเล็กๆ 3 ลอน ปลายปากชี้ตรงไปข้างหน้า ปากเชื่อมต่อกับฐานสั้นๆ ของเส้าเกสร จึงดูเหมือนว่าไม่มีฐานของเส้าเกสร เดือยของดอกแบน ชี้ตรงไปข้างหลัง มีอับเรณู 2 ก้อน แยกออกจากกัน ออกดอกปีละครั้ง บ้างต้นอาจมีดอกครั้งละหลายๆ ช่อ

    ช้าง

    Rhynchostylis gigantea

    ช้างกระ
    ช้างแดง
    ช้างเผือก

    กล้วยไม้ช้างมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า ทางตอนใต้ของจีน ประเทศในแถบอินโดจีน อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทะเลจีนใต้ สำหรับในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคา มุกดาหาร สกลนคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรี และแถบจังหวัดกาญจนบุรี พบขึ้นกระจายทั่วไปในป่าที่มีระดับความสูงประมาณ 260-350 เมตรจากระดับน้ำทะเล

    กล้วยไม้ช้างมีรูปร่างใหญ่โตกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร กลีบนอกคู่ล่างกว้างยาวพอๆ กันกับกลีบนอกบน ส่วนกลีบในเรียวกว่ากลีบนอก เดือยดอกอยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายแผ่นปากหนา แข็งและปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล ดอกบานในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์ ช้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะสีของดอก คือ ช้างกระ ช้างแดง และช้างเผือก ทั้งสามประเภทเป็นพันธุ์แท้พันธุ์เดียวกัน มีลักษณะลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่สีของดอก คือช้างกระมีดอกสีขาวประด้วยจุดสีม่วงแดง ช้างแดงดอกมีสีม่วงแดงทั้งดอกหรือเกือบทั้งดอก และช้างเผือกมีดอกสีขาวล้วน นอกจากนี้ยังมี ช้างประหลาด ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างช้างแดงกับช้างกระ สีของดอกมีจุดสีม่วงแดงใหญ่กว่าช้างกระ บางต้นจุดสีมีขนาดใหญ่จนเกือบเต็มกลีบดอก คล้ายกับสีของดอกช้างแดง แต่ยังมีสีขาวของพื้นกลีบดอกเหลืออยู่

    กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอกทุกปี การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ช้าง” อาจมาจากสองกรณีคือ ลักษณะที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น อีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะดอกตูมของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้างและมีเดือยดอกคล้ายกับงวงช้าง

    ไอยเรศหรือพวงมาลัย

    Rhynchostylis retusa

    ไอยเรศเป็นกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีถิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศไทยและในประเทศศรีลังกา เนปาล ภูฎาน พม่า จีน ประเทศแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

    ไอยเรศหรือพวงมาลัยไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย เรียก “ไอยเรศเผือก” ซึ่งหาได้ยาก

    ไอยเรศปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง การปลูกอาจเกาะไว้กับกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ ควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เนื่องจากช่วงต้นฤดูฝนจะทำให้ต้นและรากเติบโตดี

    เขาแกะ

    Rhynchostylis coelestis

    เขาแกะเขาแกะมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย มักพบขึ้นในป่าโปร่งผลัดใบ ทั้งในภูมิภาคที่เป็นภูเขาและที่ราบ เป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลช้างที่มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้น ใบมีลักษณะแบนคล้ายแวนด้า ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะนี้เองจึงได้ชื่อว่า “เขาแกะ” ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบแต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอยเรศ สีม่วงครามของเขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า “เขาแกะแดง” บางต้นมีสีไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า “เขาแกะเผือก” ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์ ฤดูออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม

    เขาแกะเป็นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแล้งได้ดี ชอบแสงแดดและอากาศถ่ายเทมากกว่าไอยเรศและช้าง อาจปลูกติดไว้กับต้นไม้ ท่อนไม้ หรือปลูกลงกระเช้าไม้ เนื่องจากปลูกเลี้ยงได้ง่าย ช่อดอกตั้ง สีของดอกเป็นสีม่วงครามหรือใกล้ไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่หาได้ยากในกล้วยไม้ทั่วๆ ไป จึงนิยมนำเขาแกะไปผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิดโดยเฉพาะกล้วยไม้ในสกุลใกล้เคียงกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เพื่อพัฒนาเป็นกล้วยไม้ตัดดอกหรือเป็นกล้วยไม้ประเภทสวยงาม

     

    กล้วยไม้สกุลกุหลาบ-AERIDES

    กล้วยไม้สกุลกุหลาบ Aerides

    กล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides) เป็นกล้วยไม้ที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ อาจขึ้นเป็นต้นเดียวโดดๆ หรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว บางต้นมียอดเดียว บางต้นแตกเป็นกอ มีหลายยอด เมื่อต้นสูงหรือยาวขึ้นจะห้อยย้อยลงมา แต่ปลายยอดยังคงชี้ขึ้นข้างบน ช่อดอกส่วนใหญ่โค้งปลายช่อห้อยลงมา รากเป็นระบบรากอากาศ ดอกมีขนาดปานกลาง มักมีกลิ่นหอม มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ กลีบดอกผึ่งผายสวยงามสะดุดตา เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย มีบทบาทสำคัญในการผสมพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ สามารถผสมในสกุลเดียวกัน และผสมข้ามสกุลต่างๆ เช่น ผสมกับสกุลแวนด้าเป็นสกุลแอริโดแวนด้า (Aeridovanda) ผสมกับสกุลช้างเป็นสกุลแอริโดสไตลิส (Aeridostylis) สำหรับกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทยมีดังนี้

    กุหลาบกระเป๋าปิด

    Aerides odorata Lour.

    กุหลาบกระเป๋าปิดเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลกุหลาบที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง 2 ส่วนพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้ พบขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า อินเดีย เนปาล และภูฎาน

    กุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ต้นห้อยย้อยลง มักแตกแขนงเป็นหลายยอด ต้นอาจยาวถึง 1 เมตรครึ่ง ใบยาวประประมาณ 15-25 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร เรียงสลับซ้ายขวา ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบางไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย โคนใบหุ้มต้น ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอกยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรและห้อยลง แต่ละช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีม่วงอมแดงอ่อนๆ ส่วนปลายปากเป็นสีม่วง เดือยดอกโค้งงอนขึ้นคล้ายเขาดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดอกกุหลาบและบานนานประมาณ 1-2 สัปดาห์

    สำหรับกุหลาบกระเป๋าปิดที่พบทางภาคเหนือ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือต้นจะตั้งตรงและบิดน้อยกว่า ใบสั้นกว่าและหนากว่า ก้านส่งช่อดอกแข็งทำให้ช่อดอกโค้งลงเพียงเล็กน้อย

    กุหลาบกระเป๋าปิด

    กุหลาบกระเป๋าเปิด

    Aerides falcata Lindl.

    กุหลาบกระเป๋าเปิดพบขึ้นอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและยังพบในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม เป็นกล้วยไม้ที่มีปลายปากกว้างอ้าออก ยื่นไปข้างหน้า มีเดือยดอกค่อนข้างตรง ซ่อนอยู่ใต้ปลายปาก อยู่ชิดขนานกับปลายปาก ใบยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร

    กุหลาบกระเป๋าเปิดออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอกห้อย ช่อรูปทรงกระบอก กลีบปากมี 3 แฉก เปิดกว้าง ริมแผ่นปากเป็นฝอย มีลายสีม่วงแดงแล้วจางเป็นสีขาว พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพูที่ปลายกลีบ ขนาดดอกประมาณ 2.5 เซนตอเมตร ดอกมีกลิ่นหอม

    กุหลาบเหลืองโคราช

    Aerides houlettiana Rchb. f

    กุหลาบเหลืองโคราชมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบกระเป๋าเปิด แต่มีพื้นกลีบเป็นสีเหลืองแทนที่จะเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้ ความยาวของใบและของช่อดอกจะสั้นกว่ากุหลาบกระเป๋าเปิด ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบใน ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม

    กุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม จุดเด่นของกุหลาบเหลืองโคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง ในแต่ละต้นจะมีความผิดเพี้ยนกันไป คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือบางต้นแทบไม่มีสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือกสีเหลืองเข้มเป็นหลัก เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลือง

    กุหลาบเหลืองโคราช

    กุหลาบแดง

    Aerides crassifolia Parish ex Burbidge

    กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาวเห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้ปลายปาก ใบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมากหรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งที่นครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม

    กุหลาบแดงออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอกเท่านั้น ดอกมีสีม่วงแดง การจัดระเบียบดอกในช่อไม่งดงามเหมือนกล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่น

    กุหลาบแดง

    กุหลาบอินทจักร

    Aerides flabellata Rolfe ex Downie

    กุหลาบอินทจักรเป็นกุหลาบเดือยยาวชนิดเดียวที่ฝาครอบอับเรณูกว้างและมนซึ่งชนิดอื่นจะแหลมเป็นปากกา ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือ และพบในพม่า ลาว และมณฑลยูนานของจีน

    กุหลาบอินทจักรมีก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง ช่อดอกตั้ง ออกดอก 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง กลีบปากเป็น 3 หยัก สีขาวมีจุดสีชมพูอมม่วง ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกขนาด 2-3 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤกษภาคม

    จุดเด่นของกุหลาบชนิดนี้อยู่ที่เดือยยาวและงอน จนปลายเดือยชี้กลับเข้าไปหาตัวดอก อาจเรียกว่า กล้วยไม้เดือยงาม ก็ได้

    กุหลาบอินทจักร

    กุหลาบน่าน กุหลาบเอราวัณ กุหลาบไอยรา

    Aerides rosea Loddiges ex Lindl. & Paxt.

    กุหลาบน่านเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก เห็นเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน ปลายใบหยักกลางแต่หยักไม่เท่ากัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเท่านั้น และพบน้อยมาก นอกจากนี้ยังพบในภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม และมณฑลยูนานของจีน

    กุหลาบน่านช่อดอกมีก้านส่งแข็ง ชี้เฉียงลง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง ถ้าต้นสมบูรณ์ ช่อดอกจะแตกแขนง ดอกเบียดกันแน่นช่อ ดอกใหญ่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน

    กุหลาบมาลัยแดง

    Aerides multiflora Roxb.

    กุหลาบมาลัยแดงมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบน่าน แตกต่างกันที่ปลายปาก คือ ปากของกุหลาบน่านเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ปากของกุหลาบมาลัยแดงเป็นรูปหัวใจ ปลายสุดของปากป้านและหยักกลาง ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์แถบภาคเหนือ อีสาน นครนายก ชลบุรี และกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบใน ประเทศเนปาล สิกขิม ภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

    กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ใบหนาโค้ง ซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อยยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอกเบียดชิดกันแน่นช่อ โดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดง มักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้นจนสุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตกแขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็น ออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นที่ดอกมีสีขาวล้วนเรียกว่า “มาลัยเผือก”

    กุหลาบมาลัยแดง

    กุหลาบชมพูกระบี่ กุหลาบพวงชมพู

    Aerides krabiense Seidenf.

    กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพู พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่ และต่อมาได้พบที่จังหวัดใกล้เคียงกัน เช่นที่พังงา และเกาะต่างๆ ในบริเวณนั้น รวมทั้งที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซียด้วย โดยจะพบขึ้นอยู่ตามหน้าผาริมทะเลที่ได้รับแสงแดดเต็มที่

    กุหลาบชมพูกระบี่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลกุหลาบที่พบในประเทศไทย เป็นกุหลาบที่ต้นมักแตกเป็นกอ ใบแคบหนา โค้งงอและห่อเป็นรูปตัววี ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไปและปรากฏมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัดหรืออากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับใบเข็มแดง

    กุหลาบชมพูกระบี่ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ช่อดอกยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อเอนขนานไปกับใบ ปลายช่อโค้งลง บางต้นพบช่อดอกแตกแขนงด้วย มีเดือยดอกสั้นมาก ปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบมาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตกต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดงปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้างและมน

    กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซิส-PHALAENOPSIS

    กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส Phalaenopsis

    กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีสปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงามทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกัน บางชนิดออกดอกในเดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกสนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้น

    กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมีใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่ ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม. ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น

    กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส

    การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรตั้งต้นกล้วยไม้ตรงกลางให้โคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้รากกล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นหรือแฉะเกินไป การใส่เครื่องปลูกควรใส่แค่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนของส่วนโคนต้นเพราะอาจจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ การปลูกควรปลูกก่อนเข้าฤดูฝนคือประมาณเดือนมีนาคม ถ้าปลูกในฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูงและกล้วยไม้กำลังอวบน้ำ อาจทำให้ใบและยอดเน่าได้

    เขากวาง

    เขากวาง

    Phalaenopsis cornucervi (Breda) Bl. & Rchb. f.

    พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในประเทศไทยแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยกเว้นภาคกลาง เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้นสีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

    กาตาฉ่อ

    กาตาฉ่อ

    Phalaenopsis decumbens Holtt.

    พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกเป็นช่อ 8-10 ดอก กลีบสีขาว โคนมีจุดหรือขีดสีม่วง โคนและปลายกลีบดอกกระดกขึ้น สีขาว ด้านโคนสีม่วง ดอกขนาด 4-6 ซม. ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกเดือนพฤศจิกายนถึงมีน

    กล้วยไม้สกุลเข็ม-ASCOCENTRUM

    กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา Bulbophyllum

    กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเชีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่แกะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิด และแต่ละชนิดมักใช้คำว่า “สิงโต” นำหน้า

    กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าสกุล “บัลโบฟิลลัม” (Bulbophyllum) ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษากรีซคือ bulbos แปลว่า “หัว” กับ phyllon แปลว่า “ใบ” หมาถึงลักษณะที่ก้านใบพองคล้ายหัว สำหรับในภาษาไทยที่เรียกกันว่า “สิงโตกลอกตา” นั้น เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “ตำราเล่นกล้วยไม้” เมื่อปี พ.ศ.2459 เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของกล้วยไม้สกุลเซอร์โรเพตาลัม (Cirrhopetalum) ซึ่งเป็นสกุลที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสกุลบัลโบฟิลลัมมาก และในปัจจุบันนี้นักพฤกษศาสตร์ได้จัดรวมไว้ในสกุลบัลโบฟิลลัม ดังนี้

    ลูกกล้วยรูปกลมมักเล็กขนาดผลพุทรา บางชนิดเขื่องกว่านั้น แลบางชนิดใบยาวตั้งคืบก็ได้ มีใบลูกกล้วยละ 1 ใบ สีเขียวแก่ด้านๆ ดอกลำพังตัวกลีบนอกสองข้างนั้นใหญ่ยาวเกินส่วน รวบปลายแหลมแลพับเบื้องโคนกลีบทบไปข้างหน้า ปลายกลีบซ้อนกันฤๅมาประสานติดกัน ทำนองห่มสไบคล้องคอ ปากเล็กเกือบแลไม่เห็น แลรังเกสรกระดิกได้เป็นดอกไม้ไหว ซึ่งเป็นเหตุให้เรียกกันในนี้ว่า “สิงโตกลอกตา”

    กล้วยไม้สิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้ที่มีการเติบโตแบบ Sympodial เช่นเดียวกับ กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา มีเหง้าและลำลูกกล้วย ซึ่งต่างกันแล้วแต่ชนิด มีทั้งชนิดที่มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ บางชนิดลำลูกกล้วยตั้งตรง บางชนิดนอนราบไปกับเหง้า มีใบที่ปลายลำลูกกล้วยหนึ่งหรือสองใบแล้วแต่ชนิด มีตั้งแต่ใบเล็กมากจนถึงใบค่อนข้างใหญ่ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ ก้านช่อดอกเกิดที่ฐานของลำลูกกล้วย บางชนิดเกิดที่ข้อของเหง้า ดอกมีตั้งแต่ขนาดเล็กมากจนถึงค่อนข้างใหญ่ ลักษณะดอกและสีสันสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด

    สิงโตพัดแดง

    สิงโตพัดแดง

    Bulbophyllum lepidum (BI.) J.J. Sm.

    เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยของเป็นรูปไข่ยาว 1.5 ซม. ลำลูกกล้วยห่างกันประมาณ 2-3 ซม. ใบรูปหอกกลับ ยาวประมาณ 16 ซม. กว้างประมาณ 3-6 ซม. ช่อดอกแบบซี่ร่ม มีดอก 4-10 ดอก ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. สีแดงอ่อนถึงแดงเข้ม กลีบเลี้ยงบนรูปรี ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกันตั้งแต่ปลายกลีบจนเกือบถึงฐานของกลีบ ขอบของกลีบเลี้ยงมีขนสีม่วง กลีบดอกรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก ยาวประมาณ 5-6 มม. ปลายกลีบดอกแคบ ขอบเป็นขนสั้นๆ ปากสีน้ำตาลอมเขียวทึบๆ เส้าเกสรสีเขียวอ่อนประด้วยจุดสีม่วง ออกดอกประมาณเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พบตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร ชัยภูมิ จันทบุรี ตราด ระนอง กระบี่ สตูล และสุราษฎร์ธานี

    สิงโตร่มใหญ่

    สิงโตร่มใหญ่

    Bulbophyllum cirrhopetalum picturatum Lodd. ex Lindl.

    ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกแบบซี่ร่มแผ่เป็นรัศมีเกือบกลม 8-10 ดอก ดอกกว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปทรงกลม สีม่วงแดง ปลายยาวเป็นหาง กลีบเลี้ยงคู่ข้างเรียวยาว สีเขียวอมเหลือง โคนกลีบมีจุดสีม่วงแดงจำนวนมาก ปลายกลีบบิดตัวเชื่อมติดกัน กลีบดอกรูปไข่ สีม่วงเข้ม ขอบกลีบหยักเป็นฟันจัก ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบปากรูปสามเหลี่ยม โคนกลีบมีติ่งรูปครึ่งวงกลมอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

    สิงโตก้ามปูแดง

    สิงโตก้ามปูแดง

    Bulbophyllum patens King ex. Hook. f.

    ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยยาว 0.6-2.5 ซม. ลำลูกกล้วยแต่ละลำห่างกันประมาณ 8 ซม. ลำลูกกล้วย 1 ลำมีใบ 1 ใบ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าบุ๋ม มีขนาดยาวประมาณ 14 ซม. กว้าง 4.5 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยว กว้าง 3 ซม. พื้นดอกเป็นสีเหลืองจางๆ มีจุดเล็กๆ สีม่วงกระจายอย่างหนาแน่นทั่วทั้งดอก จึงดูคล้ายกับว่าดอกมีสีแดงคล้ำ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบเลี้ยงคู่ล่างกางออกจากกันอย่างเด่นชัด และมีขนาดกว้างกว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกเล็กกว่ากลีบเลี้ยง กลีบปากรูปแถบอ้วนและหนา มีขนาดเล็กกว่ากลีบอื่นๆ มาก โคนเส้าเกสรยื่นออกมาเชื่อมกับโคนกลีบปาก ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าทางภาคใต้ของไทย เช่น นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส และปัตตานี

    สิงโตอาจารย์เต็ม

    สิงโตอาจารย์เต็ม

    Bulbophyllum smitinandii

    กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2509 โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ศ.ดร.เต็ม สมิตินันท์ นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 4 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองเข้ม มีประและขีดสีม่วงแกมแดง กลีบเลี้ยงบนรูปหอก กลีบเลี้ยงข้างเบี้ยวรูปไข่แกมรูสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปหอก กลีบปากสีขาวมีแฉกข้าง มีแต้มเป็นพื้นสีม่วงแดงและมีขนสีขาวประปราย ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน เป็นกล้วยไม้ที่พบเฉพาะในประเทศไทย บริเวณป่าดิบเขาบนเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเทือกเขาใกล้เคียง

    สิงโตสยาม

    สิงโตสยาม

    Bulbophyllum siamense Rchb. f.

    เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ยาว 3-5 ซม. ลำลูกกล้วยห่างกัน 3-8 ซม. มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ แผ่นใบหนา ยาวประมาณ 25 ซม. กว้าง 7 ซม. ส่วนปลายใบจะกว้างกว่าส่วนโคนใบ ปลายใบป้านค่อนข้างแหลม ออกดอกเดี่ยวตามข้อของเหง้า ก้านดอกยาวประมาณ 10 ซม. ดอกกว้าง 5-7 ซม. ดอกสีเหลือง มีเส้นสีม่วงแดงพาดตามแนวยาวกลีบค่อนข้างถี่โดยไม่มีเส้นขวาง กลีบเลี้ยงบนรูปหอกยาวประมาณ 5 ซม. ปลายแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างโค้งเป็นรูปตัว S กลีบดอกเบี้ยวรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม กลีบปากรูปสามเหลี่ยม ปลายกลีบโค้ง ยาวประมาณ 1 ซม. สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดงกระจาย ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ สิงโตสยามมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่ อินเดีย (อัสสัม) พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา ชวา บอร์เนียว จนถึงฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ เช่นที่จังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง น่าน เลย นครราชสีมา นครนายก ชลบุรี ตราด กาญจนบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พังงา ระนอง และสงขลา

    สิงโตงาม

    สิงโตงาม

    Bulbophyllum polystictum Ridl.

    ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยมีขนาดใหญ่เป็นรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ดอกกว้างประมาณ 7 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงบนรูปหอก ปลายกลีบเรียวแหลมและมีเส้นสีแดง 11 เส้น กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีเส้นสีแดง 15 เส้น ระหว่างเส้นมีจุดขนาดเล็กสีแดงเข้มจำนวนมาก กลีบดอกรูปเคียว กลีบปากรูปสามเหลี่ยม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น สงขลา ชุมพร และนครศรีธรรมราช

    สิงโตรวงข้าวฟ่าง

    สิงโตรวงข้าวฟ่าง

    Bullbophyllum crassipes Hook.f.

    เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปรี ขอบขนาน ขนาดของใบกว้าง 2 ซม. ยาว 10 ซม. หนาและแข็งปลายใบมน ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ออกที่โคนลำ ช่อดอกยาวประมาณ 10 ซม. มีดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นรอบแกนช่อ ดอกขนาด 0.5 ซม. พื้นดอกสีเขียวอ่อน มีจุดน้ำตาลแดงหนาแน่น จนดูคล้ายว่าดอกเป็นสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมรูปไข่ ปลายเรียวแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกันจนเป็นถุงลึก กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม กลีบปากรูปรีสีส้มแกมเหลือง โคนกลีบมีหูปากเป็นติ่งขนาดเล็ก ฝาครอบกลุ่มเรณูสีเหลือง มีกลิ่นอ่อนๆ ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พบในป่าดิบเขาแถบประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยพบที่ พิษณุโลก และทางภาคใต้ของประเทศ

    สิงโตรวงข้าว

    สิงโตรวงข้าว

    Bulbophyllum morphologorum Krzl.

    ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบที่ปลายลำหนึ่งใบ ใบรูปขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อที่โคนลำ ช่อดอกแบบกระจะยาว 15-22 ซม. ปลายช่อโค้งลง ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. เรียงอยู่อย่างหนาแน่น ดอกสีครีมจนถึงสีส้ม มีจุดสีน้ำตาลแกมม่วง กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปรีเชื่อมติดกัน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม ปลายเรียวยาว ขอบหยักไม่เป็นระเบียบ กลีบปากรูปขอบขนาน ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พบตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และเลย

    สิงโตรวงทอง

    สิงโตรวงทอง

    Bulbophyllum orientale Seident

    ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ แผ่นใบหนาแข็ง ช่อดอกแบบกระจะโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 10-12 ซม. ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. เรียงอยู่อย่างหนาแน่น กลีบมีสีเขียวและมีเส้นสีม่วงแดงเรียงตามความยาวกลีบเป็นระยะ กลีบเลี้ยงคู่ข้างใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ขอบหยักเล็กน้อย กลีบปากสีออกเหลือง ดอกมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน เป็นพืชถิ่นเดียว พบเฉพาะในประเทศไทยที่จังหวัดพิษณุโลก เลย และชัยภูมิ

    สิงโตตาแดง

    สิงโตตาแดง

    Bulbophyllum muscarirubrum Seidenf.

    กล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยแบน มี 2 ใบ ใบรูปขอบขนานของใบ กว้าง 3 ซม.ยาว 12 ซม. ช่อดอกเป็นช่อกระจะห้อยลง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 20 ดอก ดอกขนาด 0.5 ซม. สีชมพูถึงม่วงเข้ม มีจำนวนมากเรียงเวียนสลับรอบแกนค่อนข้างแน่น กลีบเลี้ยงบนรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีขนาดใหญ่กว่า และขอบกลีบด้านในเชื่อมติดกัน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม กลีบปากเกือบเป็นรูปกรวย มีสีเข้มกว่ากลีบเลี้ยงและกลีบดอก ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และผลัดใบ เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในประเทศไทย ในป่าเต็งรังที่มีความสูง 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ที่จังหวัดเชียงใหม่และกาญจนบุรี

    สิงโตแดง

    สิงโตแดง

    Bulbophyllum alcicorne Par. & Rchb.f.

    เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก มักพบในป่าสนบนเขาสูง ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยลดรูปเหลือเพียงปมขนาดเล็กที่โคนใบ ในช่วงที่ผลัดใบจะเห็นได้เด่นชัด โดยมีลักษณะคล้ายกระดุมติดอยู่บนเหง้าทอดเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ดอกออกจากเหง้า ตั้งตรงและปลายช่อดอกโค้งลง ช่อดอกแบบกระจะ มีดอกขนาดเล็กหลายดอก ดอกกว้างประมาณ 0.4 ซม. กลีบมีสีแดงค่อนข้างใส กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกันที่โคน กลีบดอกรูปไข่จนถึงรูปขอบขนาน ปลายกลีบมีแต้มสีม่วงแดง กลีบปากรูปไข่กลับ สีเหลือง ปลายเส้าเกสรมีรยางค์ที่มีแขนง ดอกมีกลิ่นเหม็น ออกดอกในช่วงฤดูหนาวช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในประเทศไทยพบในหลายภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ระนอง และพังงา นอกจากไทยแล้วยังพบในพม่าและมาเลเซีย

    สิงโตนกเหยี่ยวใหญ่

    สิงโตนกเหยี่ยวใหญ่

    Bulbophyllum Mastigion putidum (Teijsm. & Binn.) Garay, Hamer & Siegerist

    เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ ใบรูปขอบขนานนึ่งใบ ขนาดกว้าง 2 ซม. ยาว 7-11 ซม. ดอกออกที่ลำลูกกล้วยเป็นดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาวประมาณ 16-18 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ มีเส้นสีม่วงแดงตามแนวยาวเป็นระยะ ขอบมีขนเป็นครุยสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงคู่ข้างทั้งสองข้างบิดตัวเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว โคนกลีบโป่งพองออก ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบดอกรูปสามเหลี่ยม ด้านข้างเป็นครุยสีม่วงแดง มีเดือยเป็นตุ่มขนาดเล็กสีม่วงแดงหนาแน่น กลีบปากสีแดงมีขนาดเล็กแผ่เป็นแผ่นรูปแถบแกมรูปสามเหลี่ยม มีสันนูนตรงกลาง 2 สัน พบตามป่าดิบทางภาคใต้ ออกดอกเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

    สิงโตนกเหยี่ยวเล็ก

    สิงโตนกเหยี่ยวเล็ก

    Bulbophyllum mastigion fasinator (Rolfe) Garay. Hamer & Slegerist

    เป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ดอกออกที่โคนลำ เป็นดอกเดี่ยว ดอกกว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาวประมาณ 16 ซม. กลีบสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง มีเส้นสีน้ำตาลอมม่วงตามความยาวกลีบ กลีบเลี้ยงคู่ข้างยาวมากและเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ ปลายกลีบแหลมมีรยางค์และและพู่ยื่นยาวจำนวนมาก กลีบดอกรูปแถบ ปลายกลีบแหลมมีรยางค์และและพู่ยื่นยาวจำนวนมาก กลีบปากรูปสามเหลี่ยมอวบอ้วน และโค้งลง สีม่วงแดง เส้าเกสรสั้น ฐานเส้าเกสรยาวมาก ออกดอกช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

    สิงโตสมอหิน

    สิงโตสมอหิน

    Bulbophyllum blepharister Rchb. f.

    มีลำลูกกล้วยค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม มีสองใบ ใบหนาแข็ง สีเขียวแกมน้ำตาล รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบเว้าบุ๋ม ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกแบบกระจุกเรียงในแนวรัศมี มี 5-10 ดอก ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3-4 ซม. สีเขียวอมเหลือง มีเส้นสีม่วงแดงหลายเส้นตามความยาวกลีบ กลีบเลี้ยงบนรูปหอก ปลายกลีบแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกันเป็นรูปไข่ กลีบดอกรูปทรงกลม ปลายกลีบเว้าบุ๋มและมีขนยาวสีแดง กลีบปากรูปขอบขนาน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พบในแถบจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เลย พิษณุโลก และระนอง

    สิงโตใบพาย

    สิงโตใบพาย

    Bulbophyllum wallichii Rchb. f.

    ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ มีใบรูปขอบขนานสองใบ ออกดอกเป็นช่อจากโคนหัว ก้านช่อดอกยาว 7-15 ซม. ช่อดอกแบบกระจะ มีดอก 5-10 ดอก ปลายช่อดอกโค้งงอลง ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม. ดอกสีส้ม กลีบเลี้ยงบนมีขนาดเล็ก รูปไข่แกมรูปชอบขนาน ปลายกลีบเรียวแหลม ผิวด้านในมีขนสั้นๆ ปกคลุม กลีบเลี้ยงคู่ข้างยาว บิดตัวเชื่อมติดกันทางครึ่งปลายรูปร้าคล้ายใบพาย กลีบดอกรูปไข่ ปลายกลีบเรียวยาว ผิวด้านในมีขนปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ พบมากในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก และเลย

    สิงโตลินด์เลย์

    สิงโตลินด์เลย์

    Bulbophyllum lindleyanum Griff.

    ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยเกือบกลม มีใบรูปขอบขนานหนึ่งใบ ออกดอกเป็นช่อโปร่งโค้ง ช่อดอกแบบกระจะ ยาวประมาณ 18-25 ซม. มีดอกจำนวนมาก ดอกกว้างประมาณ 1 ซม. ดอกสีครีมมีเส้นสีม่วงตามความยาวกลีบเป็นระยะ ที่ขอบกลีบมีขน กลีบเลี้ยงบนรูปไข่ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปสามเหลี่ยม ปลายกลีบเลี้ยงทั้งสามมีสีม่วงเข้ม กลีบปากรูปแถบหนา ปลายกลีบโค้งลง ด้านบนกลีบเรียบ ด้านล่างกลีบมีขนปกคลุม ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้

    โรคและแมลงศตรู

    ปัญหาที่สำคัญในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ก็คือ โรคและแมลงรบกวน โรคของกล้วยไม้มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การป้องกันกำจัดได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคและแมลงศัตรูของกล้วยไม้ที่พบมีดังนี้

    โรคเน่าดำหรือยอดเน่า

    โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ เรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora

    ลักษณะอาการ

    โรคนี้สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง

    การป้องกันและกำจัด

    ควรปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป ถ้าพบโรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใดแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราจะต้องใช้ชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราชนิดนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรืออาจใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน

    โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม

    เป็นโรคที่จักกันดีในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกเป็นขายต่างประเทศ บางอาจแสดงอาการระหว่างการขนส่ง เป็นมากกับกล้วยไม้สกุลหวายโดยเฉพาะหวายมาดาม หวายขาว หวายชมพูและหวายซีซาร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis

    กล้วยไม้

    ลักษณะอาการ

    ปรากฏอาการบนกลีบดอกกล้วยไม้ อาการเริ่มแรกเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลเหลือง เมื่อจุดเหล่านี้ขยายโตขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1–0.3 มิลลิเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวสวนกล้วยไม้นิยมเรียกว่า “โรคราสนิม” ลักษณะดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนบนดอกหวายมาดาม แต่อาการบนหวายขาวจะเป็นแผลสีน้ำตาลไม่เป็นแผลสีสนิมชัดเจนอย่างบนหวายมาดาม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด โดยจะระบาดติดต่อกันรวดเร็วทั่วทั้งรังกล้วยไม้และบริเวณใกล้เคียง

    การป้องกันและกำจัด

    หมั่นตรวจดูแลรังกล้วยไม้ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เพราะจะเป็นแหล่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เก็บรวบรวมดอกที่เป็นโรคให้หมดแล้วนำไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟหรือมาเน็กซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

    โรคใบปื้นเหลือง

    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii พบมากในกล้วยไม้หวายปอมปาดัวร์ ระบาดมากตั้งแต่ช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้

    ลักษณะอาการ

    จะเกิดบนใบของกล้วยไม้โดยเฉพาะที่อยู่โคนต้นก่อนโดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นเป็นกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบที่เป็นรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ พร้อมทั้งร่วงหลุดออกจากต้นในที่สุด ทำให้ต้นกล้วยไม้ทิ้งใบหมด

    การป้องกันและกำจัด

    ควรเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย และรักษารังกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นการทำลายเชื้อและลดปริมาณของเชื้อราในรังกล้วยไม้ และฉีดพ่นด้วยยาเดลซีนเอ็มเอ็ก 200, ไดเทนเอ็ม 45, เบนเลททุกๆ 7–10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

    โรคแอนแทรกโนส

    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลออนซิเดี้ยม สกุลแคทลียา สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลแมลงปอ ปอมปาดัวร์ และลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่างๆ เหล่านี้เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมและฝนหรือน้ำที่ใช้รด

    กล้วยไม้

    ลักษณะอาการ

    ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็นแผลใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เนื้อเยื่อของแผลนานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาขึ้นร่วมภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม อย่างอาการเริ่มแรกกล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น

    การป้องกันและกำจัด

    โดยเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป และฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 7–15 วันต่อครั้งส่วนฤดูฝนต้องฉีดพ่นเร็วกว่ากำหนด เช่น 5–7 วันต่อครั้ง เป็นต้น

    โรคเน่าแห้ง

    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii เป็นโรคที่พบตามแหล่งปลูกกล้วยไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอากาศร้อนชื้น ทำความเสียหายแก่กล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลรองเท้านารีและสกุลออนซิเดี้ยม

    ลักษณะอาการ

    โดยเชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณรากหรือโคนต้นแล้วแพร่ไปยังส่วนเหนือโคนต้นขึ้นไป บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะแห้งและยุ่ย ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะเห็นเส้นใยสีขาวแผ่บริเวณโคนต้น ลักษณะที่เห็นได้ง่ายคือมีเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น ในกล้วยไม้บางชนิดจะแสดงอาการที่ใบโดยจะทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและร่วงตายไปในที่สุดโรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ซึ่งเชื้อราชนิดนี้จะมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลกลมๆ ซึ่งทนต่อการทำลายของสารเคมีและสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีชีวิตอยู่ได้นาน

    การป้องและกำจัด

    ควรดูแลรังกล้วยไม้เสมอ ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ควรเก็บรวบรวมใบแล้วเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือฉีดพ่นด้วยยากำจัดเชื้อรา เช่น เทอราโซลหรือไวตาแวกซ์

    โรคเน่าเละ

    เป็นโรคที่รู้จักกันดีในหมู่นักเลี้ยงกล้วยไม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลแคทลียา สกุลรองเท้านารี สกุลออนซิเดี้ยม สกุลซิมบิเดี้ยม ฟาแลนด์น๊อฟซิส เป็นต้น มักจะเกิดในเรือนกล้วยไม้ที่มีความชื้นสูง

    ลักษณะอาการ

    อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือบนหน่ออ่อน ทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ ถ้าเอามือจับแต่เบาๆ จะเละติดมือและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งจะขยายลุกลามออกไปทั้งใบและหน่ออย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง

    การป้องกันและกำจัด

    ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ในช่วงที่มีฝนตกหนักควรมีหลังคาพลาสติกคลุมอีกชั้นหนึ่งสำหรับลูกกล้วยไม้หรือไม้ปลูกใหม่ เพื่อไม่ให้แรงกระแทกของเม็ดฝนทำให้กล้วยไม้ช้ำและเป็นสาเหตุให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงและง่ายแก่การเกิดโรค นอกจากนี้การเร่งกล้วยไม้ให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงมากเกินไปจะทำให้ต้นและใบกล้วยไม้อวบหนา ซึ่งเหมาะแก่การเป็นโรคเน่าเละนี้มาก สำหรับยาเพื่อใช้กำจัดแบคทีเรียนิยมใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกสเตรปโตมัยซิน เช่น แอกริมัยซิน หรืออาจใช้ไฟแซน 20 หรือนาตริฟินก็ได้

    โรคใบจุด

    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis พบมากในกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลหวาย ทำให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากใบมีการปรุงอาหารได้น้อย โรคนี้มีปัญหามากกับผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายต้น

    ลักษณะอาการ

    ในกล้วยไม้สกุลแวนด้า ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ส่วนลักษณะอาการที่เกิดกับสกุลหวายจะแตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะมีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดปี

    การป้องกันและกำจัด

    ทำได้โดยการรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียหรือฉีดพ่นด้วยยาไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟ หรือยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เป็นต้น

    เพลี้ยไฟ

    เป็นที่รูจักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า “ตัวกันสี” เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ½-2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว

    ลักษณะอาการ

    เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า “ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย

    การป้องกันและกำจัด

    อาจใช้พอสซ์ในอัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไวเดทแอล อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ซีเอฟ 35 แอสที 10–15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกเวลาการฉีดในช่วงเย็นๆ

    ไรแดงหรือแมงมุมแดง

    เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย ไรแดงเป็นศัตรูจำพวกปากดูดมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เคลื่อนไหวได้ ไรแดงมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองและส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบ

    ลักษณะอาการ

    ไรแดงจะทำลายทั้งใบและดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยง ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้เกิดเป็นจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบ มีสีเหลืองและค่อยๆ เป็นสีเข้มขึ้นจนถึงสีน้ำตาล ถ้ามีการทำลายมากๆ จะมองเห็นบริเวณนั้น

    การป้องกันและกำจัด

    ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ยาเคลเธน อัตรา 30 ซีซี ฉีดพ่นทั้งต้น

    ที่มา    http://www.panmai.com/Orchid/orchid8.shtml

    การขยายพันธุ์

    การขยายพันธุ์กล้วยไม้เพื่อประโยชน์หลายประการคือ เพื่อเพิ่มปริมาณกล้วยไม้ให้มากขึ้น เพื่อให้กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้นานจนเป็นกอใหญ่และมีสภาพทรุดโทรมให้กลับมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และเพื่อเป็นการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ให้ได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้น การขยายพันธุ์กล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ซึ่งในแต่ละแบบแต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายและผลที่ได้แตกต่างกัน

    การขยายพันธุ์โดยไม่มีการผสมเกสร

    หมายถึงการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ที่ไม่ใช่ผลจากการผสมเกสรไปขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้ต้นใหม่ที่มีสายพันธุ์เหมือนต้นพันธุ์เดิมทุกประการ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์กล้วยไม้ต้นที่มีคุณลักษณะดีอยู่แล้ว เช่น มีความสวยงามเป็นพิเศษ หรือมีลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นกล้วยไม้ตัดดอก การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยไม่มีการผสมเกสรแบ่งวิธีการขยายพันธุ์ตามลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ดังนี้

    การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทแตกกอ

    กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบประเภทแตกกอหรือแบบซิมโพเดียล เช่น หวาย แคทลียา เมื่อหน่อหรือลูกกล้วยใดผลิดอกและต้นเริ่มร่วงโรย หน่อนั้นจะแตกหน่อใหม่ออกมาทดแทนทำให้กอแน่นขึ้น หากปล่อยให้กอแน่นเกินไปกล้วยไม้อาจทรุดโทรมเพราะมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ เมื่อเห็นกอแน่นควรตัดแยกไปปลูกใหม่จะได้ประโยชน์ 2 ทาง คือ ได้กล้วยไม้เพิ่มขึ้นและทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามดี การตัดแยกกล้วยไม้ไม่ควรทำในช่วงที่กล้วยไม้พักตัวในช่วงฤดูหนาว ควรทำในช่วงต้นฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตดีและแตกหน่อใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์คือมีดและปูนแดง สำหรับการขยายพันธุ์สามารถทำได้หลายวิธีคือ

    การตัดแยกลำหลัง

    เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้ได้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอที่มีลำลูกกล้วย เช่น กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลหวาย สกุลออนซิเดี้ยม เมื่อปลูกเลี้ยงนานจะมีกอขนาดใหญ่ขึ้นและมีลำลูกกล้วยมากขึ้น ถ้าไม่มีการตัดแยกออกจะทำให้ต้นทรุดโทรมและออกดอกน้อย การตัดแยกลำหลังนอกจากจะเป็นการขยายพันธุ์แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้กล้วยไม้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและออกดอกง่ายขึ้นด้วย

    การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ เพราะการตัดแยกแต่ละต้นที่ตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 2 ลำ และควรตรวจดูตาที่โคนลำหลังถ้าตาแห้งตายไปแล้วการตัดแยกจะไม่ได้ผล ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ชนิดใบบางที่คมๆ สอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยแล้วตัดส่วนของเหง้าให้ขาดจากกัน ใช้ปลายมีดแบนๆ ป้ายปูนแดงแล้วทาที่บาดแผลให้ทั่ว เพื่อให้แผลแห้งและเป็นการป้องกันเชื้อโรคที่อาจจะเข้าทำลายทางบาดแผลด้วย เนื่องจากลำหลังเป็นลำแก่ที่อยู่ในระยะฟักตัว ถ้ายกไปปลูกเลยรากแก่อาจจะชำรุดได้ รากใหม่ก็ไม่มีโอกาสเจริญออกมา จะทำให้การแตกหน่อล่าช้าและได้หน่อใหม่ที่ไม่แข็งแรง การตัดแยกเพื่อให้เกิดลำใหม่เร็วควรทำในช่วงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นกล้วยไม้เริ่มจะเกิดหน่อใหม่หลังจากฟักตัวในช่วงฤดูหนาว หน่อใหม่จะเจริญเติบโตขึ้นมาพร้อมที่จะยกออกไปปลูกได้ในช่วงฤดูฝนพอดี

    การตัดแยกลำหน้า

    เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอทุกชนิด ลำหน้าเป็นลำกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโตและเป็นลำที่จะให้ดอก จึงไม่ค่อยนิยมตัดแยกลำหน้าไปปลูกใหม่ นอกจากมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น กล้วยไม้เจริญเติบโตเป็นกอใหญ่จนเต็มล้นกระถางปลูกหรือเครื่องปลูกเน่าเปื่อยผุพัง จำเป็นต้องรื้อออกจากกระถางเก่าทั้งหมดแล้วนำไปตัดแบ่งแยกปลูกใหม่ หรือเป็นการตัดแยกลำหน้าเพื่อจำหน่ายซึ่งได้ราคาสูงกว่าการจำหน่ายกล้วยไม้ลำหลัง

    วิธีการตัดแยกลำหน้า ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการแยกลำหลังไปปลูก คือปล่อยให้ลำหน้าเจริญเต็มที่จนถึงสุดขีดแล้วจะแตกหน่อใหม่จากตาจนกระทั่งหน่อที่เกิดใหม่มีรากโผล่ออกมาจึงตัดแยกไปปลูก โดยใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกัน แล้วแยกไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ก่อนจึงจะยกไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะที่สุดในการตัดแยกลำหน้าคือ เมื่อลำหน้าสุดมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร การนำลำหน้าไปปลูกควรระวังอย่าให้รากอ่อนของลำหน้าสุดบอบช้ำ

    การตัดชำ

    กล้วยไม้การขยายพันธุ์ด้วยวิธีตัดชำใช้กับกล้วยไม้ประเภทแตกกอบางชนิด เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย ซึ่งเมื่อนำลำลูกกล้วยมาปักชำในที่เหมาะสมตาที่อยู่ตามข้อของลำลูกกล้วยจะแตกออกเป็นลำใหม่ได้ สำหรับลำหวายที่จะนำมาปักชำควรเป็นลำหลังที่ใบร่วงหมดแล้ว ถ้ายังมีใบติดอยู่ควรปลิดออกให้หมดและตัดรากออกให้หมด นำมาปักชำในกระบะทรายหยาบหรือกาบมะพร้าวอัดในแนวตั้งโดยให้โคนลำฝังลงไปประมาณ 2-3 ซม. ห่างกันประมาณ 4-5 ซม. เก็บไว้ในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด ให้โดนแดดเต็มที่เกือบครึ่งวัน รดน้ำให้ชุ่มวันละ 2–3 ครั้ง ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า “ตะเกียง” เมื่อลำตะเกียงเริ่มเกิดรากจึงตัดนำไปปลูกได้

    การตัดแยกกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ

    กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตแบบประเภทไม่แตกกอหรือแบบโมโนโพเดียล ได้แก่ ช้าง เข็ม เอื้องกุหลาบ แวนด้า การขยายพันธุ์โดยการตัดแยกทำได้หลายวิธี เช่น ถ้ามีหน่อออกมาจากโคนต้น ให้ตัดหน่อโดยติดรากไปด้วย 1-3 ราก แล้วนำไปปลูกใหม่ หรือใช้วิธีตัดยอดให้ติดราก 1-2 ราก แล้วนำไปปลูกใหม่ หากตัดยอดออกไปแล้วมีหน่อเกิดขึ้นก็สามารถแยกหน่อออกไปปลูกได้เช่นกัน

    การตัดยอด

    เป็นการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กับกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลเสือโคร่ง สกุลแมลงปอ และสกุลเรแนนเธอร่า กล้วยไม้ที่จะทำการตัดยอดควรควรเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแข็งแรงและสูงพอสมควร มีรากติดอยู่กับส่วนยอดที่ต้องการตัดอย่างน้อย 2–3 รากขึ้นไป ถ้ามีรากติดอยู่กับส่วนยอดยิ่งมากยิ่งดี เพราะเมื่อนำยอดไปปลูกแล้วจะทำให้แข็งแรงและตั้งตัวเร็วขึ้น วิธีการตัดยอดโดยใช้มีดหรือกรรไกรที่คมและสะอาดตัด แล้วใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดทั้งส่วนต้นและส่วนยอดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าบาดแผล นำส่วนยอดไปปลูกในที่ร่มหรือที่ที่มีแสงแดดน้อยกว่าปกติจนกว่ายอดนั้นจะตั้งตัวได้ จึงนำไปไว้ในที่ที่มีสภาวะปกติซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1–2 เดือน สำหรับส่วนต้นเมื่อนำไปปลูกก็จะมีหน่อหรือตะเกียงเกิดขึ้น

    การแยกหน่อหรือตะเกียง

    กล้วยไม้เนื่องจากกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอมีการเจริญเติบโตทางยอดคือยอดจะยาวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และจะมีการแตกหน่อจากตาที่อยู่ข้างลำต้นเป็นหน่อหรือตะเกียง สำหรับต้นที่ไม่มีหน่อหรือตะเกียงเมื่อถูกตัดยอดไปปลูกจะทำให้ต้นที่ถูกตัดแตกหน่อได้ง่ายขึ้น หน่อหรือตะเกียงนี้สามารถตัดแยกไปปลูกใหม่ได้ การตัดแยกหน่อหรือตะเกียงไปปลูกใหม่ควรเป็นหน่อหรือตะเกียงที่เจริญเติบโตพอสมควร มีรากที่แข็งแรงและยาวพอสมควรติดอยู่อย่างน้อย 2–3 รากและมีใบ 2–3 คู่ ใช้มีดหรือกรรไกรคมๆ ตัดยอดกล้วยไม้ที่มีตะเกียงติดอยู่ ตรงบริเวณใต้ตะเกียงประมาณ 2-3 เซนติเมตร หรือตัดเฉพาะตะเกียงที่มีหน่อติดอยู่ ใช้ปูนแดงทาที่บาดแผลเพื่อป้องกันโรค นำหน่อหรือตะเกียงไปปลูกไว้ในที่ร่มจนกว่าจะตั้งตัวได้จึงนำไปไว้ในที่มีสภาพเหมาะสมตามปกติ ฤดูกาลที่เหมาะแก่การตัดแยกคือต้นฤดูฝนเพราะเป็นฤดูที่กล้วยไม้กำลังเจริญเติบโตเมื่อตัดแยกไปปลูกรากจะเจริญเกาะเครื่องปลูกได้เร็วกว่าฤดูอื่น ไม่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก

    การเพาะเนื้อเยื่อ

    การเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้หรือที่เรียกกันว่า “การปั่นตา” เป็นการขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะพันธุ์เหมือนเดิมเป็นปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยการนำเนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของกล้วยไม้ เช่น ตายอด ตาข้าง ปลายใบอ่อน มาเลี้ยงด้วยอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อและมีการควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์วิธีนี้อาจมีโอกาสกลายพันธุ์ไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงแต่ก็พบได้ยาก

    ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงนำไปปลูกได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 10 เดือน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ ความสมบูรณ์ของหน่อ เทคนิคในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตรอาหารสังเคราะห์ และสภาพแวดล้อม ขั้นตอนสำคัญในการเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้ พอสรุปได้ดังนี้

    • เลือกชิ้นส่วนของกล้วยไม้ที่มีเนื้อเยื่อเจริญที่สามารถพัฒนาเป็นต้นอ่อนได้ เช่น กล้วยไม้สกุลหวายใช้หน่ออ่อน ตาข้าง ตายอด ดอกอ่อน กล้วยไม้คัทลียาใช้หน่ออ่อน ตาข้าง ตายอด ปลายใบอ่อน กล้วยไม้สกุลแวนด้าและลูกผสมใช้ยอดอ่อนที่มีตาข้างและตายอด ช่อดอกอ่อน เป็นต้น
    • ฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวชิ้นส่วนกล้วยไม้ให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ก่อนตัดส่วนเยื่อเจริญออกไปเพาะเลี้ยง
    • การเลี้ยงชิ้นส่วนหรือตาในระยะแรก เมื่อฟอกฆ่าเชื้อแล้วใช้มีดเจาะตาขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร นำไปเลี้ยงในอาหารเหลวหรืออาหารแข็งสูตรที่เหมาะสม ตาจะมีโปรโตคอร์ม (protocorm) สีเขียวแตกออกมารอบๆ ระยะนี้ต้องเปลี่ยนอาหารทุกสองสัปดาห์
    • การเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์มโดยคัดเลือกโปรโตคอร์มที่เป็นก้อนกลมไม่มีใบยอด ไปเลี้ยงในอาหารสูตรที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มจำนวนโปรโตคอร์ม ถ้าโปรโตคอร์มพัฒนาเป็นยอดต้องตัดยอดทิ้งเพื่อให้เกิดการแตกโปรโตคอร์ม
    • การเลี้ยงโปรโตคอร์มให้เป็นต้น เมื่อได้จำนวนโปรโตคอร์มตามต้องการแล้ว ย้ายไปเลี้ยงในอาหารแข็งสูตรที่เหมาะสม ให้โปรโตคอร์มแต่ละหน่วยเจริญเติบโตเป็นต้นกล้ามีใบยอดและราก เมื่อต้นสูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็คัดแยกแต่ละต้นย้ายไปเลี้ยงในวุ้นอาหารสูตรถ่ายขวดประมาณ 50 ต้นต่อขวด เพื่อให้เจริญเติบโตแข็งแรง พร้อมที่จะนำออกปลูกภายนอกได้

    การขยายพันธุ์โดยการผสมเกสรและเพาะเมล็ด

    การขยายพันธุ์โดยการผสมเกสรนี้อาจทำให้ได้คุณภาพของกล้วยไม้ที่ผสมได้เปลี่ยนไปบ้างแต่ไม่มากนัก การขยายพันธุ์เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของกล้วยไม้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ที่ดีมาผสมกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อนำแวนด้า 2 ต้น ต้นหนึ่งดอกใหญ่ แต่สีไม่สด ช่อดอกไม่ยาว ส่วนอีกต้นหนึ่งดอกเล็ก แต่สีสด ก้านช่อยาว นำมาผสมกัน เพื่อให้ได้กล้วยไม้ที่มีลักษณะดีขึ้น ดอกใหญ่ สีสด ก้านช่อยาวและเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ผลที่ได้จะสำเร็จตามต้องการหรือไม่ต้องรอจนกระทั่งกล้วยไม้ที่ผสมใหม่นั้นออกดอก ในการผสมพันธุ์กล้วยไม้จะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

    • กล้วยไม้ที่ผสมกันได้ต้องเป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญแบบเดียวกัน เช่น กล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดียลซึ่งเจริญเติบโตทางยอดต้องผสมกับกล้วยไม้ประเภทโมโนเดียลด้วยกัน จะผสมกับกล้วยไม้ประเภทซิมโพเดียลซึ่งเจริญเติบโตแบบแตกหน่อออกมาด้านข้างไม่ได้
    • กล้วยไม้ที่ผสมกันถ้าอยู่ในสกุลเดียวกันจะผสมกันได้ง่ายกว่า เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าผสมกับกล้วยไม้สกุลแวนด้าด้วยกัน หรือกล้วยไม้สกุลข้างผสมกับสกุลช้างด้วยกัน
    • การผสมเกสรกล้วยไม้ต้องเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ถ้าต้นเล็กหรือลำต้นไม่แข็งแรงอาจทำให้อาหารที่มาเลี้ยงฝักไม่เพียงพอ เป็นผลให้ฝักไม่สมบูรณ์ เมื่อนำเมล็ดไปเพาะแล้วลูกไม้ที่เกิดมาอาจไม่แข็งแรงเลี้ยงยาก
    • ระยะเวลาที่เหมาะสมและความสมบูรณ์ของดอก คือ ดอกกล้วยไม้ที่บานเต็มที่ทั้งดอกแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ โดยลักษณะดอกที่บานเท่ากัน ไม่บานน้อยหรือบานมานานจนจวนจะโรย สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำการผสมพันธุ์ควรเป็นเวลาเช้า แสงแดดยังไม่จัดและไม่มีฝนตก

    การผสมพันธุ์กล้วยไม้ นอกจากต้องคำนึงถึงดอกกล้วยไม้ที่ต้องบานเต็มที่ การผสมพันธุ์ต้องทำตอนเช้า เวลาที่ไม่มีแสงแดด ฝนไม่ตกแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์หรือไม้ที่ใช้เขี่ยเกสรตัวผู้ต้องสะอาดปราศจากเชื้อรา เมื่อปัจจัยทุกอย่างพร้อมจึงเริ่มทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้ โดยนำไม้จิ้มฟันที่สะอาดเขี่ยเกสรตัวผู้ของต้นที่ต้องการให้เป็นพ่อพันธุ์ซึ่งมีเรณูอยู่มากมายใส่ลงที่ยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์ซึ่งเป็นแอ่ง ในแอ่งนี้มีน้ำเมือกเหนียวๆ ใสคล้ายแป้งเปียก เมื่อนำก้อนเกสรตัวผู้ใส่ลงไปแล้ว น้ำเมือกจะช่วยให้ก้อนเกสรตัวผู้ติดอยู่ได้ ก้อนเกสรตัวผู้ที่เป็นสีเหลืองจะละลายอ่อนตัวกลืนเข้ากับน้ำเมือก เรณูของเกสรตัวผู้แต่ละเม็ดจะงอกเป็นหลอดเข้าไปในก้านดอกหรือรังไข่ หลอดแต่ละหลอดจะเข้าไปผสมกับไข่ตัวเมีย ไข่นั้นจะเกิดเป็นเชื้อที่สมบูรณ์ แล้วรังไข่ก็จะพองโตเกิดเป็นฝัก ฝักของกล้วยไม้จะแก่ต้องใช้เวลานาน เช่น ฝักของกล้วยไม้สกุลหวายใช้เวลาประมาณ 4–5 เดือน ฝักของกล้วยไม้สกุลแวนด้าใช้เวลาประมาณ 7–8 เดือน แต่ถ้าเป็นฝักของฟ้ามุ่ยจะต้องใช้เวลาประมาณ 17–18 เดือน การเพาะฝักกล้วยไม้จะเพาะฝักแก่หรือฝักอ่อนก็ได้ ฝักอ่อนกล้วยไม้มีสีเขียวแต่พอเริ่มแก่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเป็นสีน้ำตาลเมื่อแกจัด ขณะที่ฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองต้องระวังไม่ให้ถูกน้ำ ฝักกล้วยไม้สุกจะมีสีเหลืองแบบมะนาวสุกแสดงว่าฝักสุก เก็บฝักไปเพาะได้ อย่ารอให้ฝักเป็นสีน้ำตาล เพราะฝักจะแตก

    การเพาะฝักอ่อนต้องเป็นฝักอ่อนที่มีเชื้อสมบูรณ์แล้ว หลังจากผสมแล้ว ไข่จะกลายเป็นเชื้อที่สมบูรณ์ได้นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ เช่น หวายประมาณ 45 วัน แวนด้าประมาณ 80–90 วัน หรือใช้เวลาประมาณ 1 ใน 3 ของระยะฝักแก่ ฝักอาจแก่เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่สิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่าง ความชุ่มชื้น และความสมบูรณ์ เป็นต้น

    หลังจากการผสมพันธุ์กล้วยไม้จนได้ฝักแล้วจึงนำเมล็ดภายในฝักมาทำการเพาะเมล็ด ฝักแต่ละฝักมีเมล็ดจำนวนมากตั้งแต่ 1,000 – 4,000,000 เมล็ด เมล็ดกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างจากเมล็ดของพืชชนิดอื่นตรงที่มีขนาดเล็กมากจนแทบจะเป็นละออง เพราะภายในเมล็ดไม่มีอาหารสำหรับต้นอ่อนเหมือนเมล็ดพืชอื่นๆ จึงทำไห้เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมาก ตามธรรมชาติเมล็ดสามารถงอกได้โดยอาศัยเชื้อราบางชนิดที่อาศัยอยู่ตามรากกล้วยไม้ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ ให้เป็นอาหารแก่ต้นอ่อน ในสมัยก่อนจึงใช้วิธีหว่านเมล็ดจากฝักแก่ลงบริเวณโคนต้นของกล้วยไม้สกุลเดียวกัน แต่อัตราการงอกตามธรรมชาตินี้มีน้อยมาก ปัจจุบันใช้การเพาะเมล็ดในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุต่างๆ ของกล้วยไม้ในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะ แต่อาหารดังกล่าวก็เป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศด้วย ดังนั้นการเพาะเมล็ดกล้วยไม้จึงต้องเพาะในขวดเพาะ และอุปกรณ์ต่างๆ ในการเพาะต้องทำให้ปลอดเชื้อจุลินทรีย์ด้วย เพราะเชื้อจุลินทรีย์จะเข้าทำลายเมล็ดกล้วยไม้ได้

    การเพาะเมล็ดกล้วยไม้อาจเพาะได้ทั้งเมล็ดจากฝักแก่และเมล็ดจากฝักอ่อน ข้อดีของการเพาะเมล็ดจากฝักอ่อน คือ ประหยัดเวลา ไม่ต้องรอจนฝักแก่ ต้นแม่พันธุ์ไม่โทรมเนื่องจากต้องเลี้ยงฝักนาน และป้องกันปัญหาฝักร่วงก่อนกำหนด แต่ข้อเสียของการใช้ฝักอ่อนคือต้องรีบเพาะทันทีหลังจากตัดฝักจากต้น มิฉะนั้นฝักจะเหี่ยวหรือเสีย แต่ถ้าเป็นฝักแก่หากเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นจะสามารถเก็บได้นานเป็นปี

    ที่มา     http://www.panmai.com/Orchid/orchid7.shtml

    วิธีการปลูก

    วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ

    ภาชนะปลูก

    ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้

    กระถางดินเผาทรงเตี้ย

    กระถางดินเผาทรงเตี้ย

    เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง

    กระถางดินเผาทรงสูง

    กระถางดินเผาทรงสูง

    เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น

    กระเช้าไม้สัก

    กระเช้าไม้สัก

    ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4×4 นิ้ว ถึง 10×10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า

    กระเช้าพลาสติก

    กระเช้าพลาสติก

    เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง

    กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง

    กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง

    เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส

    ท่อนไม้ที่มีเปลือก

    ท่อนไม้ที่มีเปลือก

    โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดไว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า

    ต้นไม้ใหญ่

    ต้นไม้ใหญ่

    โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบมะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง

    เครื่องปลูก

    วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้

    ออสมันด้า

    เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2–3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา

    กาบมะพร้าว

    เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น

    ถ่าน

    ถ่านไม้จัดเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธิ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้ว ควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ

    ทรายหยาบและหินเกล็ด

    การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวกสกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้

    อิฐหักและกระถางดินเผาแตก

    อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น

    วิธีการปลูก

    การล้างลูกกล้วยไม้

    คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว

    การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก

    ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น

    การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่

    ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน

    การปลูกลงในกระเช้า

    เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้

    การย้ายภาชนะปลูก

    เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้ว โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูกที่แน่นและชื้นแฉะเป็นเวลานานๆ ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไปก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้า ให้ยอดตั้งตรง มัดรากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า

    การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก

    สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดรากและใบที่เน่าหรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจนเกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น

    นอกจากนั้นยังอาจนำกล้วยไม้ต้นใหญ่ไปผูกติดกับท่อนไม้หรือกระเช้าสีดา ให้บริเวณโคนต้นติดอยู่กับภาชนะปลูก ส่วนยอดอาจตั้งตรงทาบขึ้นไปหรือลำต้นโน้มไปข้างหน้าและส่วนยอดเงยขึ้น มัดลำต้นตรงบริเวณเหนือโคนต้นขึ้นไปเล็กน้อยให้ติดกับภาชนะปลูกด้วยเชือกฟางหรือลวด 1-2 จุดและมัดรากใหญ่ๆ ให้ติดกับภาชนะปลูกอีก 1-2 จุด เพื่อให้ติดแน่น อาจใช้กาบมะพร้าวกาบอ่อนชุบน้ำให้ชุ่ม มัดหุ้มบางๆ รอบโคนต้นกล้วยไม้เหนือบริเวณที่เกิดรากเล็กน้อยกับท่อนไม้ก็ได้ และนำท่อนไม้หรือกระเช้าสีดาไปแขวนบนราวเมื่อเกิดรากใหม่เกาะติดภาชนะปลูกดีแล้ว จึงตัดเชือกฟางหรือลวดออก

     

    ที่มาhttp://www.panmai.com/Orchid/orchid5.shtml